เลขที่หนังสือ | : กค 0811/31141 |
วันที่ | : 27 มิถุนายน 2543 |
เรื่อง | : สิทธิประโยชน์ทางภาษี กรณีโอนทรัพย์สินตามแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 40(4), มาตรา 65 |
ข้อหารือ | : บริษัทฯ ได้จัดตั้งขึ้นตามแผนฟื้นฟูกิจการของ บริษัท A. จำกัด ซึ่งเป็นลูกหนี้ที่ศาลได้มีคำสั่ง เห็นชอบตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย ตามแผนฟื้นฟูดังกล่าวกำหนดให้กลุ่มเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 7 (เจ้าหนี้ในแผนฟื้นฟูมี 9 กลุ่ม กลุ่มเจ้าหนี้ในที่นี้หมายถึงเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 7 เท่านั้น) แปลงหนี้ ซึ่งบริษัท A.เป็นหนี้อยู่จำนวน 2,760,588,252.63 บาท เป็นทุนของบริษัท A. โดยให้บริษัท A. ออก หุ้นราคา PAR หุ้นละ 10 บาท จำนวน 243,036,093 หุ้นมูลค่ารวม 2,430,360,930 บาท เพื่อ ชำระหนี้ให้แก่กลุ่มเจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 7 โดยมีขั้นตอนตามแผนฟื้นฟูดังนี้ 1 ให้เจ้าหนี้กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 7 จัดตั้งบริษัท B. จำกัด ซึ่งถือหุ้นโดยกลุ่มเจ้าหนี้ ดังกล่าวเพื่อรับโอนหนี้ของบริษัท A. มูลหนี้จำนวน 2,760,588,252.63 บาท จากกลุ่มเจ้าหนี้มาเป็น ลูกหนี้ของบริษัทฯ แทน ซึ่งจะทำให้บริษัทฯ กลายเป็นเจ้าหนี้ของบริษัท A. แทน และบริษัทฯ จะเป็น ลูกหนี้ของกลุ่มเจ้าหนี้เนื่องจากการรับโอนสิทธิลูกหนี้มาเป็นของตน 2 ให้บริษัท A. ออกหุ้นราคา PAR หุ้นละ 10 บาท จำนวน 243,036,093 หุ้นมูลค่ารวม 2,430,360,930 บาท มาชำระหนี้จำนวน 2,760,588,252.63 ทำให้เกิดผลขาดทุนเป็นรายจ่ายใน บริษัทฯ เป็นจำนวน 330,227,322.63 บาท 3 หลังจากบริษัทฯ ได้รับชำระหุ้นของบริษัท A. จำนวน 2,430,360,930 บาท แล้ว บริษัทฯ จะต้องโอนหุ้นดังกล่าวทั้งหมดชำระหนี้ที่บริษัทฯ เป็นหนี้แก่กลุ่มเจ้าหนี้ข้อ 1 จำนวน 2,760,588,252.63 บาท การโอนหุ้นจำนวน 2,430,360,930 บาทเพื่อชำระหนี้ 2,760,588,252.63 บาท ทำให้เกิดส่วนต่างเป็นรายได้จำนวน 330,227,322.63 บาท 4 เมื่อได้ดำเนินการตามข้อ 1 ถึงข้อ 3 แล้ว ให้เลิกบริษัทฯ โดยเร็ว บริษัทฯ จึงขอทราบว่า 1. การดำเนินการตามข้อเท็จจริงข้างต้น บริษัทฯ จะได้รับยกเว้นภาษีอากรตาม พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 340) พ.ศ. 2541 หรือไม่ 2. ถ้าไม่ได้รับสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 340) พ.ศ. 2541 บริษัทฯ จะต้อง เสียภาษีอะไรบ้าง 3. ในกรณีต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล หากมีรายจ่ายในงบกำไรขาดทุน คือรายจ่ายจาก การรับชำระหนี้จากบริษัท A. ตามข้อ 2 จำนวน 330,227,322.63 บาท จะถือเป็นรายจ่ายใน การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้หรือไม่ |
แนววินิจฉัย | : 1. กรณีบริษัท A. (ลูกหนี้) ได้เข้าสู่กระบวนการแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามกฎหมาย ล้มละลายโดยแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท A. (ลูกหนี้) กำหนดให้ จัดตั้งบริษัทฯ ขึ้นมาเพื่อรับโอนทรัพย์สิน จากบริษัท A. (ลูกหนี้) และกำหนดให้บริษัทฯ ต้องโอนทรัพย์สินดังกล่าวไปให้กับเจ้าหนี้ของบริษัท A. (ลูกหนี้) นั้น เนื่องจากบริษัทฯ มิใช่ลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ในหนี้สินเดิมดังกล่าว ดังนั้น บริษัทฯ จึงไม่อยู่ในข่าย ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 340) พ.ศ. 2541 2. กรณีบริษัทฯ ได้โอนหุ้นให้กับกลุ่มเจ้าหนี้ที่ 2 และกลุ่มที่ 7 ในราคาจำนวน 2,760,588,252.63 บาทโดยบริษัทฯ ได้หุ้นดังกล่าวมามีมูลค่าจำนวน 2,430,360,930 บาท ส่วน ต่างจำนวน 330,227,322.63 บาท เข้าลักษณะเป็นผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้นเฉพาะที่ตีราคา เป็นได้เกินกว่าที่ลงทุนเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ช) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ต้อง นำเงินได้ดังกล่าวมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร 3. กรณีบริษัท A. ได้โอนหุ้นจำนวน 2,430,360,930 บาท ให้กับบริษัทฯ เพื่อชำระหนี้ จำนวน 2,760,588,252.63 บาท หนี้สินที่ยังเหลืออยู่อีกจำนวน 330,227,322.63 บาท บริษัทฯ ไม่มีสิทธินำหนี้สินนั้นมาถือเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น เนื่องจากเป็นรายจ่ายต้องห้ามตาม มาตรา 65 ตรี (9) แห่งประมวลรัษฎากรประกอบกับมาตรา 65 ทวิ (9) แห่งประมวลรัษฎากร |
เลขตู้ | : 63/29512 |