เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/5678
วันที่: 10 กรกฎาคม 2543
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีรับทำงานวิจัยด้านเคมี
ข้อกฎหมาย: มาตรา 40(2)
ข้อหารือ: สำนักงานสรรพากรภาค แจ้งว่า นาย ส. ซึ่งจบการศึกษาปริญญาเอก สาขาวิศวกรรม
เคมี ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำอยู่ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย (เอกชน) ได้หารือกรณีการ
เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยมีข้อเท็จจริงสรุปได้ว่า นาย ส. ได้รับจ้างทำงานวิจัย และให้คำ
ปรึกษาแนะนำแก่บริษัทหนึ่งเพื่อปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพการผลิตโดยมีการทำสัญญาว่าจ้างร่วมกัน
เป็นลายลักษณ์อักษรว่าจะต้องทำงานนั้นให้สำเร็จลุล่วงในเวลาที่กำหนด ระยะเวลาในการจ่ายค่าจ้าง
และจำนวนเงินที่แน่นอน แบ่งจ่ายเป็นรายเดือนหรือทุกสามเดือน และยังได้รับจ้างทำงานวิจัยงานทาง
ด้านปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของโลหะโดยทำการทดลองเพื่อหาส่วนประกอบที่เหมาะสมให้แก่บริษัทอีก
แห่งหนึ่งด้วย โดยทำสัญญาว่าจ้างเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่มีการระบุระยะเวลาของโครงการที่แน่นอน
เนื่องจากงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์เป็นงานที่ต้องอาศัยระยะเวลาและไม่สามารถบอกเวลาที่งานวิจัย
นั้นจะประสบผลสำเร็จได้อย่างแน่นอน แต่จะได้รับค่าจ้างจำนวนแน่นอนเมื่องานสำเร็จลุล่วงในระดับหนึ่ง
นาย ส. ขอทราบว่า การรับทำงานวิจัยดังกล่าวเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร
หรือไม่อย่างไร
สำนักงานสรรพากรภาค เห็นว่า การที่ นาย ส. จบการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขา
วิศวกรรมเคมี เป็นอาจารย์ประจำอยู่ที่ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย (เอกชน) ได้รับจ้าง
ทำงานวิจัยและให้คำปรึกษาแนะนำแก่บริษัทหนึ่งเพื่อปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพการผลิตด้านเคมี ไม่
ถือว่าเป็นเงินได้จากวิชาชีพวิศวกรรม ตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร เพราะวิชาชีพ
วิศวกรรมหมายความว่าวิชาชีพการช่างในสาขาวิศวกรรมโยธาวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า
วิศวกรรมอุตสาหการ วิศวกรรมเหมืองแร่และสาขาวิศวกรรมอื่นใด ซึ่งจะได้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505 แต่สาขาวิศวกรรมเคมี มิได้เป็นวิชาชีพวิศวกรรมตาม
นัยแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งมิได้กำหนดเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา ดังนั้น การที่นาย ส. รับ
ทำงานวิจัยดังกล่าวจึงถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร
แนววินิจฉัย: เงินได้ที่ นาย ส. ได้รับจากการรับจ้างทำงานวิจัยและให้คำปรึกษาแนะนำดังกล่าวโดย
นาย ส. ได้ทำเพียงคนเดียวเงินที่ได้รับเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินเนื่องจากการรับทำงานให้ตาม
มาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร หากนาย ส. ได้ทำโดยร่วมกับบุคคลอื่นหรือมีลูกจ้างหรือมี
สำนักงานและมีค่าใช้จ่ายในการบริหารงานจำนวนมากเงินได้ที่ได้รับเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมิน
ตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 63/29541

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020