เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/31284
วันที่: 24 กรกฎาคม 2543
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ของกิจการอพาร์ทเมนท์ที่มีบริการอื่นเช่นเดียวกับโรงแรม (Serviced Apartment)
ข้อกฎหมาย: มาตรา 77/1(10), คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.90/2542
ข้อหารือ: บริษัทฯ มีลูกค้าซึ่งประกอบกิจการประเภท Serviced Apartment ในการให้บริการของ
บริษัทลูกค้านั้นหากผู้ใช้บริการต้องการใช้ห้องพักระยะยาว บริษัทลูกค้าจะเรียกเก็บเงินประกันจาก
ผู้ใช้บริการเป็นจำนวนเท่ากับค่าบริการห้องพักจำนวน 1 หรือ 2 เดือน บริษัทฯ จึงหารือว่า เงินประกัน
ที่บริษัทลูกค้าเรียกเก็บจากผู้ใช้บริการจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ และผู้ชำระเงินประกันดังกล่าว
ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.73/2541 ฯ หรือไม่
แนววินิจฉัย: กิจการ Serviced Apartment เป็นกิจการอพาร์ทเมนท์ที่มีการให้บริการอื่นในลักษณะ
ทำนองเดียวกันกับโรงแรม จึงถือเป็นการให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร
ประกอบกับในข้อ 9 วรรคหนึ่ง ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.90/2542 เรื่อง การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
และการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย สำหรับการให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 81(1)(ต) การ
โอนสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 77/1(8) และ (9) และการให้บริการตามมาตรา
77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2542 แต่มิใช่การให้บริการเช่า
อสังหาริมทรัพย์ เงินประกันการใช้บริการที่ผู้ประกอบกิจการ Serviced Apartment เรียกเก็บจากผู้
ใช้บริการจึงเป็นค่าบริการได้รับจากการให้บริการ ผู้ประกอบกิจการ Serviced Apartment จึงมี
หน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร โดยความรับผิดในการเสีย
ภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระเงินประกันดังกล่าวตามมาตรา 78/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร
สำหรับบริษัทลูกค้าผู้จ่ายเงินประกันไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามข้อ 6 ของ
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 แห่ง
ประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ประกอบกับข้อ 18
วรรคหนึ่ง (1) ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.90/2542 ฯ ลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2542
เนื่องจากมิใช่การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์
เลขตู้: 63/29595

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020