เลขที่หนังสือ | : กค 0811/พ.6256 |
วันที่ | : 28 กรกฎาคม 2543 |
เรื่อง | : ภาษีกรณีโอนสิทธิค่าบริการสาธารณูปโภค |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 77/1(10)), มาตรา 78/1(2) |
ข้อหารือ | : สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ ได้ตรวจคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ราย บริษัท ก. จำกัด จาก การตรวจสอบพบว่าบริษัทฯ ได้ทำสัญญาเช่าอาคารและเช่าพื้นที่อาคารศูนย์การค้าเวิลด์เทรด โครงการ ระยะที่ 2 จากบริษัท ว. จำกัด มีกำหนดเวลา 30 ปี นับแต่วันที่ 1 มกราคม 2532 เป็นต้นมา และ บริษัทฯ ได้ให้บุคคลภายนอกเช่าพื้นที่ โดยบริษัทฯเป็นผู้ทำสัญญาและเรียกเก็บค่าเช่าพื้นที่จากผู้เช่า โดยตรง แต่ในส่วนของค่าบริการสาธารณูปโภค บริษัทฯ ได้ทำสัญญาใช้สิทธิประกอบการโดยทำสัญญา ระหว่างบริษัท ว. จำกัด (เจ้าของอาคารที่ 1) และบริษัทฯ (เจ้าของอาคารที่ 2) ซึ่งเป็นผู้ให้ใช้สิทธิ ฝ่ายหนึ่ง กับ บริษัท ฟ. จำกัด ซึ่งเป็นผู้ขอใช้สิทธิอีกฝ่ายหนึ่ง สัญญากำหนดเงื่อนไขสรุปความว่า ผู้ใช้ สิทธิจะให้บริการสาธารณูปโภคแก่ลูกค้าที่ทำสัญญาเช่าอาคารพาณิชย์กับเจ้าของอาคาร และผู้ใช้สิทธิจะ ต้องเป็นผู้ทำสัญญาบริการกับผู้เช่าภายในศูนย์การค้า และเก็บค่าบริการจากผู้เช่าได้โดยตรงกับผู้เช่า แต่ละรายสัญญานี้มีกำหนดเวลา 22 ปี 11 เดือน นับแต่วันที่ 1 มกราคม 2540 ผู้ใช้สิทธิตกลงชำระ ค่าตอบแทนให้กับเจ้าของอาคารที่ 1 และเจ้าของอาคารที่ 2 เป็นงวดรายเดือน เริ่มชำระงวดแรกวันที่ 2 มกราคม 2540 สัญญานี้ไม่มีการจ่ายเงินก่อนไม่ว่าในลักษณะใด ณ วันทำสัญญา อีกทั้งปัจจุบันเจ้าของ อาคารทั้งสองยังไม่ได้รับชำระค่าตอบแทนแต่อย่างใด โดยบริษัทฯ ได้นำมูลค่าที่ควรได้รับตามสัญญาบันทึก บัญชีเป็นลูกหนี้การค้าคู่กับรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้แล้ว แต่ยังมิได้นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม โดย ชี้แจงว่าบริษัทฯ ยังไม่ได้รับชำระค่าตอบแทนตามสัญญาความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มยังไม่เกิด สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ เห็นว่า การโอนสิทธิในส่วนของค่าบริการสาธารณูปโภคเป็น การขายสินค้าที่ไม่มีรูปร่าง ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์สินค้ามิใช่ เมื่อได้รับชำระราคาสินค้าซึ่งเมื่อบริษัทฯ โอนสิทธิในการเรียกเก็บค่าบริการสาธารณูปโภคของอาคารให้ เช่าให้บริษัทฯ อื่นดำเนินการ ถือเป็นการขายสินค้า ต้องนำมูลค่าตามสัญญามาถือเป็นเงินได้เพื่อเป็นฐาน ในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนที่ทำสัญญาตามมูลค่าทั้งหมดของสัญญา สำนักงานสรรพากรภาค มีความเห็นสรุปความว่า สัญญาดังกล่าวเป็นการได้มาซึ่งสิทธิใน การประกอบกิจการในอาคารโดยไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าว สัญญาดังกล่าวไม่ใช่การซื้อ ขาย แต่เป็นการให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร แต่เนื่องจากบริษัท ฟ. ได้เข้า มาใช้สิทธิประกอบกิจการตามสัญญาดังกล่าวแล้ว แม้บริษัทฯ ทั้ง 2 ยังไม่ได้รับชำระค่าตอบแทนตามสัญญา แต่บริษัทฯ ทั้งสองได้รับรู้รายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้แล้ว จึงถือได้ว่าได้มีการใช้บริการโดย บุคคลอื่น (บริษัท ฟ.) ในอาคารนั้นแล้ว ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงเกิดขึ้นตามนัยมาตรา 78/1(1)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ ทั้งสองจึงต้องรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามส่วนของ การใช้บริการตามสัญญาดังกล่าว จึงหารือว่าความเห็นดังกล่าวถูกต้องหรือไม่ |
แนววินิจฉัย | : กรณีบริษัท ว. และบริษัทฯ ได้ให้บริษัท ฟ. ใช้สิทธิบริหารกิจการบริการสาธารณูปโภคของ อาคารศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ เป็นเวลา 22 ปี 11 เดือน โดยบริษัท ฟ. จะได้รับสิทธิเป็นผู้ ให้บริการและเรียกเก็บค่าตอบแทนจากผู้เช่าพื้นที่โดยตรง และจ่ายให้บริษัท ว. และบริษัทฯ เป็นราย เดือนตามอัตราและระยะเวลาตามที่กำหนด แต่ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าว การ ประกอบกิจการดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร และ กรณีการให้บริการตามสัญญาที่กำหนดค่าตอบแทนตามส่วนของบริการที่ทำ โดยผู้ให้บริการได้ให้ผู้รับบริการ ซึ่งเป็นคู่สัญญาได้ใช้บริการก่อน กรณีดังกล่าวยังไม่ถือว่าเป็นการได้ใช้บริการโดยบุคคลอื่นก่อนตามมาตรา 78/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น กรณีตามข้อเท็จจริงดังกล่าว ความรับผิดในการเสีย ภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระค่าบริการ |
เลขตู้ | : 63/29616 |