เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/31367
วันที่: 31 กรกฎาคม 2543
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการยกเว้นภาษีแก่เงินได้ที่ลูกจ้างได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ข้อกฎหมาย: มาตรา 42(17), กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2506)ฯ
ข้อหารือ: ธนาคารฯ ได้หารือปัญหากฎหมายภาษีอากร กรณีที่พนักงานของธนาคารฯ ที่มีอายุตั้งแต่ 55
ปี บริบูรณ์มีอายุการทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 20 ปี และเป็นสมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตาม
กฎหมายว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี มีความประสงค์จะลาออกจากงาน
เนื่องจากธนาคารฯ มีระเบียบภายในกำหนดให้กรณีพนักงานที่มีคุณสมบัติดังกล่าวลาออกเองจะได้สิทธิต่างๆ
เช่นเดียวกับกรณีเกษียณอายุเนื่องจากอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ด้วย ธนาคารฯ จึงหารือว่า พนักงานที่
ลาออกเองเนื่องจากมีคุณสมบัติดังกล่าวจะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีตามข้อ 2(36) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่
126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม
โดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 195 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการ
ยกเว้นรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52)เรื่อง กำหนด
หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการสำหรับกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพหรือตาย
ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 หรือไม่
แนววินิจฉัย: ตามข้อ 2(36) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)ฯ และ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52)ฯ ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538
ข้อ 1(1) กำหนดให้สิทธิเฉพาะกรณีของการเกษียณอายุเท่านั้น ซึ่งธนาคารฯ ก็มีระเบียบในเรื่องการ
เกษียณอายุโดยกำหนดให้พนักงานที่มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์สิ้นกำหนดเวลาการทำงาน ดังนั้น การที่
พนักงานลาออกก่อนเกษียณอายุ จึงไม่ถือเป็นการเกษียณอายุที่จะได้รับสิทธิตามข้อ 2(36) แห่ง
กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)ฯ และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับ
ที่ 52)ฯ ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ข้อ 1(1)
เลขตู้: 63/29623

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020