เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811(กม.07)/พ.1043
วันที่: 26 มิถุนายน 2543
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ และการแสดงราคาสินค้ากับจำนวนภาษีในใบกำกับภาษี
ข้อกฎหมาย: มาตรา 86/6, ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 32) พ.ศ. 2535
ข้อหารือ: 1. กรณีบริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ประกอบกิจการผลิต
ยางรถยนต์ และรับจ้างหล่อดอกยางรถยนต์ มีการขายสินค้าทั้งขายส่งให้ร้านขายยางรถยนต์ และ
ขายปลีกให้กับผู้ใช้รถบรรทุกทั่วไปครั้งละ 1-10 เส้น ได้หารือว่าบริษัทฯ มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ
สำหรับการขายปลีกหรือไม่
2. กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทนายหน้าตัวแทนได้รับ
ค่านายหน้า จากบริษัทเอ.ไอ.เอ. จำกัด โดยรวมค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม “INCLUSIVE OF 10% VAT”
ผู้ประกอบการ บันทึกรายได้ และนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม = 30,167.41 x 10 = 2,742.45110
รายได้ = 30,167.41 - 2,742.45 = 27,424.96 ได้หารือว่า การคำนวณดังกล่าว
ของผู้ประกอบการ ถูกต้องหรือไม่
แนววินิจฉัย: 1. กรณีบริษัทฯ ขายยางรถยนต์ครั้งละ 1-10 เส้น ให้แก่ผู้ขับรถบรรทุกทั่วไปตาม
ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นการขายให้แก่ผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้บริโภคโดยตรง และได้ขายในปริมาณ ซึ่งตามปกติวิสัย
ของผู้บริโภคนั้นจะนำสินค้าไปบริโภค หรือใช้สอยโดยมิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำไปขายต่อ จึงเป็นการ
ประกอบกิจการขายสินค้าในลักษณะขายปลีก ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร และ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 32) เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไขการ
ประกอบกิจการขายสินค้าในลักษณะขายปลีก หรือประกอบกิจการให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่
บุคคลจำนวนมาก ให้เป็นกิจการค้าปลีก ตามมาตรา 86/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 8 เมษายน
พ.ศ.2535 บริษัทฯ จึงมีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้
2. กรณีบริษัท เอ.ไอ.เอ. จำกัด จ่ายค่านายหน้าให้ผู้ประกอบการโดยรวม
ภาษีมูลค่าเพิ่ม "INCLUSIVE OF 10% VAT" การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม และการบันทึกรายได้ให้
ดำเนินการดังนี้
ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการแสดงในในใบกำกับภาษีจะเท่ากับ 10 คูณด้วยจำนวนเงินที่ได้
รับหารด้วย 110
ภาษีมูลค่าเพิ่ม = 30,167.41 x 10 = 2,742.45110
รายได้ = 30,167.41 - 2,742.45 = 27,424.96
เลขตู้: 63/29561

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020