เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/พ.ก.588
วันที่: 18 กันยายน 2543
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการออกใบกำกับภาษีของโรงงานน้ำตาล
ข้อกฎหมาย: มาตรา 77/1(8), มาตรา 78, มาตรา 89(5)
ข้อหารือ: โรงงานน้ำตาลจังหวัดอุตรดิตถ์ให้โรงงานน้ำตาลจังหวัดนครสวรรค์ ยืมสินค้าน้ำตาลทรายโดย
ออกใบยืมสินค้าเมื่อเดือนตุลาคม 2540 ซึ่งวินิจฉัยว่า การยืมสินค้าถือเป็นการขายสินค้า ดังนั้น ในเดือน
สิงหาคม 2543 โรงงานน้ำตาลจังหวัดอุตรดิตถ์จะชำระภาษีมูลค่าเพิ่มจากยอดขายที่ได้ออกใบยืมสินค้า
เมื่อเดือนตุลาคม 2540 พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม แต่ปรากฏว่า ผู้ซื้อ (ผู้ยืมน้ำตาล) ต้องการ
ใบกำกับภาษี (ซื้อ) เป็นหลักฐานจึงขอทราบว่า ผู้ขาย (ผู้ให้ยืม) ต้องออกใบกำกับภาษี (ขาย) โดยลง
วัน เดือน ปี ใด
แนววินิจฉัย: กรณีที่โรงงานน้ำตาลจังหวัดอุตรดิตถ์ให้โรงงานน้ำตาลจังหวัดนครสวรรค์ยืมสินค้าน้ำตาล โดย
ออกใบยืมสินค้าเมื่อเดือนตุลาคม 2540 กรณีถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8) แห่ง
ประมวลรัษฎากร โรงงานน้ำตาลจังหวัดอุตรดิตถ์ (ผู้ให้ยืม) ต้องออกใบกำกับภาษี (ขาย) ทันทีที่
ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อส่งมอบน้ำตาล ตามมาตรา 78 และมาตรา 86 แห่ง
ประมวลรัษฎากร แต่ตามข้อเท็จจริงผู้ให้ยืมไม่ได้ออกใบกำกับภาษีในเดือนตุลาคม 2540 ดังนั้น ขณะนี้ผู้
ให้ยืมจึงต้องออกใบกำกับภาษีในปัจจุบัน กล่าวคือ ต้องออกใบกำกับภาษีในเดือนสิงหาคม 2543 และ
เนื่องจากใบกำกับภาษีดังกล่าวจัดทำขึ้นในภายหลัง มิได้เป็นการจัดทำในทันทีที่ความรับผิดในการเสีย
ภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ผู้ให้ยืมจึงต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89(5) แห่งประมวลรัษฎากร และ
ต้องระวางโทษตามมาตรา 90/2(3) แห่งประมวลรัษฎากร และโรงงานน้ำตาลจังหวัดนครสวรรค์
(ผู้ยืม) ซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธินำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีดังกล่าวไปหักในการคำนวณภาษี
ในเดือนภาษีที่ได้รับใบกำกับภาษีนั้นได้
เลขตู้: 63/29810

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020