เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/ก.592
วันที่: 18 กันยายน 2543
เรื่อง: การยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร
ข้อกฎหมาย: มาตรา 12
ข้อหารือ: การได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่บริบูรณ์
เว้นแต่นิติกรรมจะได้ทำเป็นหนังสือ และได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 1299
แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เมื่อผู้ค้างฯ ได้มีหนังสือสัญญายกที่ดินให้สร้างวัด โดยยังมิได้
จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่วัดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่ดินแปลงดังกล่าวจึงยังไม่
ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของวัดแต่อย่างใด เมื่อที่ดินยังไม่เป็นที่วัด จึงไม่ถือเป็นทรัพย์สินของวัด ซึ่งไม่อยู่ใน
ความรับผิดชอบแห่งการบังคับคดี ตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 จึงไม่ถือเป็นทรัพย์สินที่ต้องห้ามยึดตามข้อ 8(1)(ง)
ของระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร ตามมาตรา 12 แห่ง
ประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2539 เจ้าพนักงานจึงมีอำนาจยึดที่ดินแปลงดังกล่าวได้
แนววินิจฉัย: กรณีผู้ค้างฯ ได้ทำหนังสือสัญญายกที่ดินให้สร้างวัด ณ ที่ว่าการอำเภอ ถือว่าผู้ค้างฯ ได้แสดง
ความจำนงจะให้ที่ดินแปลงดังกล่าวเพื่อสร้างวัด ที่ดินแปลงดังกล่าวจึงตกเป็นของแผ่นดินเพื่อใช้สำหรับ
สร้างวัดตามเจตนาของผู้อุทิศทันที โดยไม่ต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนการให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ตามมาตรา 525 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อีกแต่ประการใด เมื่อที่ดินแปลงดังกล่าวตกเป็น
กรรมสิทธิ์ของวัดแล้ว จึงไม่อยู่ในความรับผิดชอบแห่งการบังคับคดี ตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติ
คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 และเป็นทรัพย์สินที่ต้องห้าม
ยึดตามข้อ 8(1)(ง) ของระเบียบกรมสรรพากรว่าด้วยการยึดทรัพย์สินของผู้ค้างภาษีอากร ตามมาตรา
12 แห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2539 เจ้าพนักงานไม่มีอำนาจยึดที่ดินแปลงดังกล่าว
เลขตู้: 63/29814

 


 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020