เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/ก.1475
วันที่: 11 ตุลาคม 2543
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายค่าตอบแทนการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
ข้อกฎหมาย: มาตรา 70, มาตรา 83/6(2)
ข้อหารือ: บริษัทฯ ได้จ้างบริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศสหราชอาณาจักรอังกฤษ และไม่มี
สำนักงานตัวแทนหรือสำนักงานสาขาหรือสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย เขียนและติดตั้ง
โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้กับเครื่องขายตั๋วค่าธรรมเนียมการใช้สนามบินอัตโนมัติ การฝึก อบรมช่าง
เทคนิคของบริษัทฯในต่างประเทศ รวมทั้งการจัดส่งวิศวกรเข้ามาดูแลรักษาตัวเครื่องขายตั๋วอัตโนมัติและ
วงจรคอมพิวเตอร์เป็นประจำทุกเดือนหรือเป็นครั้งคราวตามความจำเป็น โดยบริษัทฯ ได้หักภาษี ณ
ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 5.0 ของค่าบริการที่ต้องชำระทุกรายการตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร
และข้อ 13 แห่งอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน ระหว่างประเทศไทยกับประเทศสหราชอาณาจักร
อังกฤษและไอร์แลนด์เหนือ และนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มแทนบริษัทผู้ผลิตโปรแกรมคอมพิวเตอร์และบริษัทฯ
สามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มจำนวนดังกล่าวมาใช้เป็นภาษีซื้อได้
แนววินิจฉัย: โปรแกรมคอมพิวเตอร์ถือเป็นงานวรรณกรรมตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ดังนั้น
ค่าตอบแทนในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับเครื่องขายตั๋วค่าธรรมเนียมการใช้สนามบินอัตโนมัติ
จึงถือเป็นค่าสิทธิตามข้อ 13 วรรคสาม แห่งอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน ระหว่างประเทศไทย
กับประเทศสหราชอาณาจักรอังกฤษและไอร์แลนด์เหนือ เมื่อบริษัทฯ จ่ายค่าตอบแทนในการใช้โปรแกรม
คอมพิวเตอร์ซึ่งรวมถึงการติดตั้งโปรแกรม การฝึกอบรมช่างเทคนิคของบริษัทฯ และการจัดส่งวิศวกรเข้า
มาดูแลรักษาเครื่องขายตั๋วอัตโนมัติเป็นประจำทุกเดือนหรือเป็นครั้งคราวดังกล่าวซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของ
ค่าลิขสิทธิ์ในงานวรรณกรรม ออกไปให้แก่บริษัทที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศสหราชอาณาจักร
อังกฤษซึ่งไม่มีสถานประกอบการถาวรในประเทศไทย บริษัทฯ จึงมีหน้าที่หักภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของ
ค่าตอบแทนตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร และข้อ 13 วรรคสอง (ก) แห่งอนุสัญญาฯ ดังกล่าว
เนื่องจากการรับจ้างเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามสัญญาดังกล่าว เป็นการให้บริการใน
ต่างประเทศและได้มีการใช้บริการในราชอาณาจักร บริษัทฯ จึงมีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา
83/6(2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งถือเป็นภาษีซื้อตามมาตรา 77/1(18)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร
บริษัทฯ จึงนำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 63/29889

 

 

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020