เลขที่หนังสือ | : กค 0811/6941 |
วันที่ | : 12 พฤศจิกายน 2543 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีจ่ายค่าเสียหายจากการค้ำประกัน |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 65 ตรี (12) |
ข้อหารือ | : ห้างฯ ได้ทำสัญญากับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ฯ โดยห้างฯ ตกลงเป็นตัวแทนของบริษัทฯ ในการ หาลูกค้ามาเช่าซื้อรถยนต์และเป็นผู้จัดเก็บค่างวดให้กับบริษัทฯ และมีเงื่อนไขว่าห้างฯ จะเป็นผู้ค้ำประกัน ร่วมในสัญญาเช่าซื้อทุกฉบับ ห้างฯ ได้รับผลตอบแทนเป็นค่านายหน้า ในกรณีที่ลูกค้าผู้เช่าซื้อรถยนต์ไม่ สามารถชำระค่างวด บริษัทฯ จะบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ และนำรถยนต์ออกประมูลขาย ฟ้องเรียก ค่าเสียหายจากลูกค้าผู้เช่าซื้อ ค่าเสียหายส่วนที่เหลือ ห้างฯ จะต้องรับผิดชอบในฐานะผู้ค้ำประกันร่วม ต่อมากระทรวงการคลังได้สั่งปิดกิจการของบริษัทฯ และตรวจสอบสถานะการเงิน โดยให้องค์การเพื่อ การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) เป็นผู้ควบคุมดูแลดำเนินการทางทรัพย์สินและชำระบัญชี เลิกกิจการ ห้างฯ ได้รับการติดต่อให้ชำระหนี้ในส่วนของค่าเสียหายที่ยังคงค้างอยู่ในบัญชีของบริษัทฯ จำนวน 20 สัญญา เป็นจำนวนเงินมูลค่า 12,891,069.96 บาท ในฐานะผู้ค้ำประกันร่วมใน สัญญาเช่าซื้อ เพื่อมิให้ถูกฟ้อง ห้างฯ จึงจำเป็นต้องชำระค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวให้กับบริษัทฯ ภายใต้ การควบคุมดูแลของ ป.ร.ส. ในเดือนสิงหาคม 2542 ห้างฯ หารือว่าห้างฯ จะนำค่าเสียหายจากการ ค้ำประกันสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว มาถือเป็นรายจ่ายในรอบบัญชีปี 2542 ทั้งจำนวนได้หรือไม่ และหากห้างฯ ติดตามฟ้องร้องทางคดีให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ ห้างฯ ต้องนำมาถือเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ ติดตามได้ ถูกต้องหรือไม่ |
แนววินิจฉัย | : ค่าเสียหายจากการค้ำประกันสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ดังกล่าว ถือเป็นผลเสียหายอัน เนื่องจาก การประกอบกิจการที่ไม่มีหลักประกันห้างฯ ย่อมหักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่มี รายจ่ายเกิดขึ้น ได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร และหากมีการชำระหนี้นั้นใน รอบระยะเวลาบัญชีใด ให้นำมารวมคำนวณเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชี นั้นด้วย |
เลขตู้ | : 63/29959 |