เลขที่หนังสือ | : กค 0706/8043 |
วันที่ | : 26 สิงหาคม 2547 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้ออาคาร อาคารพร้อมที่ดิน และการหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ฯ |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 47(1)(ช) |
ข้อหารือ | : 1. เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2545 นาย ก. ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับ นาง ข. ตามโฉนดที่ดิน ราคา 1,230,000 บาท ต่อมาวันที่ 16 กรกฎาคม 2545 นาย ก.และนาย ธ. บิดาของ ก. ร่วมกันกู้เงินจากธนาคารอาคารสงเคราะห์ จำนวน 1,200,000 บาท เพื่อซื้อที่ดินและ อาคารดังกล่าว และในวันที่ 18 กรกฎาคม 2545 นางสาว ข. ผู้จะขายได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อม สิ่งปลูกสร้างให้กับนาย ก. และนาย ก.ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับธนาคาร อาคารสงเคราะห์ (ผู้ให้กู้) จำนวนเงิน 1,200,000 บาท และนาย ก. ได้ชำระเงินค่าที่ดินพร้อมสิ่ง ปลูกสร้างให้กับนางสาว ข. แล้วจำนวน 1,200,000 บาท 2. นาย ธ. ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2545 (ภ.ง.ด.91) โดย นำเงินค่าซื้ออาคารฯ จำนวน 100,000 บาท และดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจำนวน 9,037.07 บาท มาคำนวณ ในรายการลดหย่อนและยกเว้นหลังจากหักค่าใช้จ่ายในแบบ ภ.ง.ด.91 แล้ว นาย ธ. ขอคืนเงินจำนวน 5,616 บาท แต่จากการตรวจสอบหลักฐานเบื้องต้นของงานคืนภาษี ฝ่ายกรรมวิธีและคืนภาษี สำนักงาน สรรพากรพื้นที่ พบว่า ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง คือนาย ก. ผู้เดียว และงานคืนภาษี ฝ่ายกรรมวิธีและคืนภาษีได้วิเคราะห์แบบ ภ.ง.ด.91 แล้ว ได้ตัดจำนวนค่าซื้ออาคารฯ ลงไปจำนวน 50,000 บาท คงเหลือ 50,000 บาท ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจำนวน 9,037.07 บาทเท่าเดิม เมื่อคำนวณ ภาษีใหม่แล้ว นาย ธ. จะได้รับเงินคืนทั้งสิ้น 3,896.62 บาท |
แนววินิจฉัย | : 1. กรณีการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้ออาคาร อาคารพร้อมที่ดิน ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 230 (พ.ศ. 2544) ออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 98)ฯ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ตามสัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและการ โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามโฉนดที่ดินนั้น ไม่ปรากฏว่ามีชื่อนาย ธ. ในสัญญาดังกล่าวแต่ อย่างใด ดังนั้น กรณีจึงไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ตามข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 98)ฯ นาย ธ. จึงไม่ได้รับสิทธิตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 230 ฯ ประกอบกับ ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 98)ฯ แต่อย่างใด 2. กรณีการหักลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมฯ เนื่องจากตามข้อเท็จจริงนาย ธ. ไป ทำงานกับหน่วยงานศูนย์สร้างทาง และเป็นการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปีภาษี 2545 ซึ่งกรมสรรพากรได้ยกเลิกหลักเกณฑ์การมีชื่ออยู่ในทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ของผู้มีเงินได้ ดังนั้น ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่นาย ธ. ชำระให้กับธนาคารอาคารสงเคราะห์ในปี พ.ศ.2545 จึงมีสิทธิหักเป็นค่าลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามข้อ 2 และข้อ 3 ของ ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 86) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ การหักลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ตามมาตรา 47(1)(ช) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2543 แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 101) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ การหักลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามมาตรา 47(1)(ซ) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ.2544 และได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับ เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่รวมกันต้องไม่เกิน 50,000 บาท ตาม ข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 88) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อหรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็น ประกันการกู้ยืมนั้น ตามข้อ 2(53) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 103) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ เพื่อการยกเว้น ภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือ สร้างอาคารที่อยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ตามข้อ 2(53) แห่ง กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2544 |
เลขตู้ | : 67/33108 |