เลขที่หนังสือ | : กค 0706/6342 |
วันที่ | : 6 กรกฎาคม 2547 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการถูกเลิกจ้าง |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 48(5), มาตรา 50(1), ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45)ฯ |
ข้อหารือ | : นาย ภ. อายุ 57 ปี ซึ่งทำงานเป็นพนักงานบริษัท ท. จำกัด มาแล้วเป็นระยะเวลาประมาณ 9 ปี บริษัทฯ ได้ออกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างใหม่กำหนดให้ลูกจ้างที่มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ต้อง เกษียณอายุการทำงานและรวมถึงลูกจ้างที่มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ก่อนวันที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ใหม่นี้จะมีผลใช้บังคับด้วย โดยถือว่าลูกจ้างรายนั้นถูกเลิกจ้างเพราะเหตุเกษียณอายุการทำงาน ตั้งแต่ วันที่ 31 ธันวาคม 2546 ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างใหม่นี้และได้ทำงานมา แล้วตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดมีสิทธิได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพ การจ้างใหม่นี้มีผลทำให้นาย ภ. ต้องถูกเลิกจ้างเนื่องจากมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์แล้วในวันที่ข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้างใหม่นี้มีผลใช้บังคับและบริษัทฯ ได้จ่ายเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานให้แก่นาย ภ. แล้ว แต่นาย ภ. เห็นว่าการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่บริษัทฯ ได้คำนวณไว้จากเงินชดเชยตาม กฎหมายแรงงานดังกล่าวไม่ถูกต้อง จึงหารือว่าการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินที่นายจ้าง จ่ายจากการเลิกจ้างมีวิธีการอย่างไร |
แนววินิจฉัย | : กรณีบริษัทฯ ได้กำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างใหม่ให้มีผลเป็นการเลิกจ้างเพราะเหตุ ลูกจ้างเกษียณอายุโดยตกลงจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานให้สำหรับลูกจ้างที่ได้ทำงานมาแล้วตาม ระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เงินชดเชยที่นาย ภ. ได้รับถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ตามข้อ 1(ค) ของ ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไข ของเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(1) และ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งนายจ้างจ่าย ให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน ตามมาตรา 48(5) และมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2535 การคำนวณหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายสำหรับจำนวนเงินที่นาย ภ. ได้ รับให้คำนวณภาษีตามเกณฑ์ในมาตรา 48(5) แห่งประมวลรัษฎากร กล่าวคือให้นำเงินได้พึงประเมิน ดังกล่าวหักค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเท่ากับ 7,000 บาท คูณด้วยจำนวนปีที่ทำงาน แต่ไม่เกิน เงินได้พึงประเมินเหลือเท่าใดหักค่าใช้จ่ายอีกร้อยละ 50 ของเงินที่เหลือนั้น แล้วคำนวณภาษีตาม อัตราภาษีเงินได้เป็นเงินภาษีทั้งสิ้นเท่าใดให้หักเป็นเงินภาษีไว้เท่านั้น ทั้งนี้ ตามมาตรา 50(1) แห่ง ประมวลรัษฎากร และข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 45)ฯ ลงวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2535 |
เลขตู้ | : 67/33017 |