เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0706/พ./6981
วันที่: 22 กรกฎาคม 2547
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีบริษัทขายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อในต่างประเทศ โดยว่าจ้างผู้ประกอบการรับขนส่งพัสดุภัณฑ์ทางอากาศจัดส่งสินค้าให้
ข้อกฎหมาย: มาตรา 80/1(1), คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.97/2543 ฯ
ข้อหารือ: 1. บริษัทฯ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2540 สถานประกอบการตั้งอยู่
เลขที่ กรุงเทพฯ ไม่มีสาขา ประกอบกิจการส่งออกอัญมณีที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือนไปต่างประเทศโดย
ว่าจ้างผู้ประกอบการรับขนส่งพัสดุภัณฑ์ทางอากาศ จัดส่งสินค้าให้โดยมีขั้นตอนและรายละเอียดในการ
ส่งออกดังนี้
1.1 เมื่อบริษัทฯ ได้รับคำสั่งซื้อสินค้าจากผู้ซื้อในต่างประเทศ บริษัทฯ จะติดต่อว่าจ้างให้
ผู้ประกอบการรับขนส่งพัสดุภัณฑ์ทางอากาศเป็นผู้จัดส่งสินค้าให้ โดยบริษัทฯ จะจัดทำหลักฐาน
ใบกำกับสินค้า (INVOICE) จำนวน 1 ชุด 5 ฉบับ และใบตราส่งสินค้า (AIR WAYBILL)จำนวน 1
ชุด 3 ฉบับ มอบให้กับผู้ประกอบการรับขนส่งพัสดุภัณฑ์ทางอากาศ พร้อมกับสินค้าที่จะส่งออกตามรายการ
ในใบกำกับสินค้า จากนั้นเมื่อผู้ประกอบการรับขนส่งพัสดุภัณฑ์ทางอากาศ ตรวจสอบความถูกต้องแล้วจะ
ลงลายมือชื่อและคืนใบกำกับสินค้า (INVOICE) และใบตราส่งสินค้า (AIR WAYBILL) คืนให้บริษัทฯ
อย่างละ 1 ฉบับ เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน
1.2 เมื่อผู้ประกอบการรับขนส่งพัสดุภัณฑ์ทางอากาศ ได้ดำเนินการส่งออกสินค้าให้กับ
บริษัทฯ แล้ว ก็จะออกใบแจ้งหนี้เรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าขนส่ง (ค่าระวาง), ค่าเคลียร์
สินค้า, ค่าอากรและค่าภาษี และเมื่อบริษัทฯ ชำระเงินตามใบแจ้งหนี้แล้ว ผู้ประกอบการรับขนส่ง
พัสดุภัณฑ์ทางอากาศจึงจะออกใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงินให้กับบริษัทฯ ต่อไป
1.3 ในกรณีที่บริษัทฯ ให้ผู้ประกอบการรับขนส่งพัสดุภัณฑ์ทางอากาศดำเนินพิธีการศุลกากร
และส่งสินค้าเฉพาะของบริษัทฯ ไม่รวมไปกับสินค้าของลูกค้ารายอื่น ใบขนสินค้าขาออกจะออกในนามของ
บริษัทฯ
1.4 ในกรณีที่บริษัทฯ ให้ผู้ประกอบการรับขนส่งพัสดุภัณฑ์ทางอากาศ จัดส่งสินค้ารวมไปกับ
ลูกค้ารายอื่นๆ กรณีนี้ ผู้ประกอบการรับขนส่งพัสดุภัณฑ์ทางอากาศจะดำเนินพิธีการศุลกากรในนามของ
ตนเอง บริษัทฯ จะไม่ได้สำเนาใบขนสินค้าขาออกจากผู้ประกอบการรับขนส่งพัสดุภัณฑ์ทางอากาศ ซึ่งแม้
บริษัทฯ ได้ขอสำเนาใบขนสินค้าขาออก จากผู้ประกอบการรับขนส่งพัสดุภัณฑ์ทางอากาศแล้ว แต่ได้รับการ
ปฏิเสธโดยแจ้งเหตุผลว่า ใบขนสินค้าขาออกดังกล่าวเป็นเอกสารของผู้ประกอบการรับขนส่งพัสดุภัณฑ์
ทางอากาศไม่อาจสำเนาให้บุคคลอื่นใดได้
จากขั้นตอนและรายละเอียดข้อเท็จจริงในการส่งออกดังกล่าว บริษัทฯ เห็นว่าเป็นการ
ส่งออกสินค้าไปต่างประเทศตามประมวลรัษฎากรแล้ว จึงยื่นยอดขายไว้ตามแบบ ภ.พ.30 สำหรับ
เดือนภาษีที่มีการส่งออกโดยถือเป็นยอดขายส่งออกที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตลอดมา
แนววินิจฉัย: กรณีบริษัทฯ ขายสินค้าให้แก่ผู้ซื้อในต่างประเทศโดยว่าจ้างให้ผู้ประกอบการรับขนส่งพัสดุภัณฑ์
ทางอากาศจัดส่งสินค้ารวมไปกับลูกค้ารายอื่น ๆ แต่บริษัทฯ ไม่มีหลักฐานสำเนาใบขนสินค้าขาออกในนาม
ของผู้ประกอบการรับขนส่งพัสดุภัณฑ์ทางอากาศฉบับที่มีการสลักหลังการตรวจปล่อยสินค้าโดย
เจ้าหน้าที่ศุลกากรนั้น หากบริษัทฯ มีเอกสารยืนยันการส่งออกสินค้าที่ผู้ประกอบการรับขนส่งพัสดุภัณฑ์
ทางอากาศได้จัดทำขึ้นเองเป็นหลักฐานแทนใบขนสินค้าขาออก ซึ่งหากเอกสารดังกล่าวมีข้อความแสดงว่า
มีการตรวจปล่อยสินค้าโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากร บริษัทฯ ก็จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0
ตามมาตรา 80/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ตาม ข้อ 13 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.97/2543 ฯ
ลงวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2543
เลขตู้: 67/33048


 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020