เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0706/7095
วันที่: 26 กรกฎาคม 2547
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการชดเชยผลขาดทุนกิจการวิเทศธนกิจ
ข้อกฎหมาย: มาตรา 70 ทวิ
ข้อหารือ: ธนาคารหารือกรมสรรพากร ซึ่งข้อเท็จจริงตามที่หารือสรุปได้ดังนี้
1. การชดเชยผลขาดทุนของสาขาธนาคารต่างประเทศ
1.1 ในกรณีที่สาขาธนาคารต่างประเทศนำกำไรสะสมที่ยังไม่ได้โอนเป็นส่วนของ
สำนักงานใหญ่มาล้างผลขาดทุน (ผลขาดทุนไม่ปรากฏในบัญชีต่อไป) หรือเพิ่มทุน (ผลขาดทุนยังคงอยู่ แต่
เงินทุนเพิ่มขึ้น) นั้น จะต้องเสียภาษีกำไรส่งออกสำหรับกำไรดังกล่าวหรือไม่ อย่างไร
1.2 ในกรณีที่กิจการวิเทศธนกิจนำกำไรสะสมที่อยู่ใน Out-in มาล้างผลขาดทุนหรือเพิ่ม
ทุนให้กับสาขา จะต้องเสียภาษีกำไรส่งออกสำหรับกำไรดังกล่าวหรือไม่ อย่างไร
1.3 ในกรณีที่กิจการวิเทศธนกิจนำกำไรสะสมที่อยู่ใน Out-out มาล้างผลขาดทุนหรือ
เพิ่มทุนให้กับสาขา จะต้องเสียภาษีกำไรส่งออกสำหรับกำไรดังกล่าวหรือไม่ อย่างไร
1.4 ในกรณีที่สำนักงานใหญ่ส่งเงินเพื่อล้างผลขาดทุนหรือเพิ่มทุนให้กับสาขา จะต้องเสีย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับการนำเข้าดังกล่าวหรือไม่ อย่างไร
2. การชดเชยผลขาดทุนของกิจการวิเทศธนกิจ
2.1 ในกรณีที่กิจการวิเทศธนกิจนำกำไรสะสมใน Out-in ที่ยังไม่ได้โอนเป็นส่วนของ
สำนักงานใหญ่มาล้างผลขาดทุนหรือเพิ่มทุนนั้น จะต้องเสียภาษีกำไรส่งออกสำหรับกำไรดังกล่าวหรือไม่
อย่างไร
2.2 ในกรณีที่กิจการวิเทศธนกิจนำกำไรสะสมที่อยู่ใน Out-out มาล้างผลขาดทุนหรือ
เพิ่มทุน จะต้องเสียภาษีกำไรส่งออกสำหรับกำไรดังกล่าวหรือไม่ อย่างไร
2.3 ในกรณีที่สำนักงานใหญ่หรือสาขาอื่นในต่างประเทศส่งเงินเข้ามาเพื่อล้างผลขาดทุน
หรือเพิ่มทุนใหักับกิจการวิเทศธนกิจ จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับการนำเข้าดังกล่าว หรือไม่
อย่างไร
2.4 ในกรณีที่สาขาธนาคารต่างประเทศนำกำไรสะสมที่ยังไม่ได้โอนเป็นส่วนของ
สำนักงานใหญ่ล้างผลขาดทุนหรือเพิ่มทุนให้กับกิจการวิเทศธนกิจ จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับ
เงินนำเข้าดังกล่าวหรือไม่ อย่างไรดังความละเอียดแจ้งอยู่แล้ว นั้น
แนววินิจฉัย: 1. กรณีตามข้อหารือดังกล่าวข้างต้นเป็นประเด็นเกี่ยวกับการเสียภาษีจากการจำหน่ายเงิน
กำไร ซึ่งตามมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติว่า "บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดจำหน่าย
เงินกำไรหรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรออกไปจากประเทศไทย ให้
เสียภาษีเงินได้......
การจำหน่ายเงินกำไรตามวรรคหนึ่งให้หมายความรวมถึง
(1) การจำหน่ายเงินกำไร หรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไรหรือถือได้ว่าเป็นเงิน
กำไรจากบัญชีกำไรขาดทุนหรือบัญชีอื่นใด ไปชำระหนี้หรือหักกลบลบหนี้ หรือไปตั้งเป็นยอดเจ้าหนี้ในบัญชี
ของบุคคลใด ๆ ในต่างประเทศ หรือ
(2) ในกรณีที่มิได้ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวใน (1) แต่ได้มีการขออนุญาตซื้อและโอน
เงินตราต่างประเทศซึ่งเป็นเงินกำไรหรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไร
ออกไปต่างประเทศ หรือ
(3) การปฏิบัติอย่างอื่นซึ่งก่อให้เกิดผลตาม (1) หรือ (2)"
ดังนั้น กรณีที่สาขาของธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศที่ประกอบกิจการในประเทศไทยมีการ
ดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร สาขาธนาคารฯดังกล่าวมีหน้าที่ต้อง
เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยมีหน้าที่ยื่นรายการและนำส่งภาษีภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่
จำหน่ายเงินกำไร ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ
ที่จ่าย การนำส่งภาษีเงินได้ การนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม และการยื่นรายการ ลงวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ.
2544
2. กรณีผู้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจจำหน่ายเงินกำไรตามมาตรา 70 ทวิ แห่ง
ประมวลรัษฎากร เฉพาะที่ได้จากกิจการวิเทศธนกิจเพื่อการให้กู้ยืมในต่างประเทศตาม
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 16
กันยายน พ.ศ. 2535 หรือที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมต่อไป จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตาม
มาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่
308) พ.ศ. 2540
เลขตู้: 67/33059


 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020