เลขที่หนังสือ | : กค 0706/7015 |
วันที่ | : 23 กรกฎาคม 2547 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศและได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 40(8), มาตรา 70, มาตรา 77/2 |
ข้อหารือ | : ก มีความประสงค์จะทำสัญญาว่าจ้างบริษัทลูกของการรถไฟประเทศฝรั่งเศสซ่อมเครื่องยนต์ Pielstick ของรถจักร Alstrom จำนวน 5 เครื่อง ราคาเครื่องละ 560,000 ยูโร โดย ก จะส่ง เครื่องยนต์ที่ชำรุดจากโรงงานไปยังโรงซ่อมเครื่องจักรของ SNCF ประเทศฝรั่งเศส เนื่องจาก เครื่องยนต์ที่ส่งไปเป็นเครื่องยนต์เก่าที่ใช้งานไม่ได้มีสภาพชำรุดทรุดโทรม เมื่อซ่อมแล้วจะต้องส่งกลับมา ยังประเทศไทยเป็นเครื่องยนต์ที่ใช้งานได้และมีการรับประกันการทำงาน ทำให้เครื่องยนต์มีมูลค่าเพิ่มขึ้น จากเดิมที่ใช้งานไม่ได้ ก ขอหารือว่า ค่าใช้จ่ายในการซ่อมที่การรถไฟฯ ต้องจ่ายให้บริษัทฯ รวมทั้ง ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่ ก ต้องรับภาระภาษีทั้งหมด ก จะต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย อย่างไร |
แนววินิจฉัย | : 1. กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม ก ได้ทำสัญญาว่าจ้างซ่อมแซมเครื่องยนต์เก่าที่มีสภาพชำรุดทรุดโทรม โดยส่งเครื่องยนต์ไปซ่อมแซมที่ประเทศฝรั่งเศส เมื่อบริษัทฯ ดำเนินการเรียบร้อยแล้วได้ส่งกลับมาให้ ก ใช้ในประเทศไทย กรณีดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศ และได้มีการใช้ บริการนั้น ในราชอาณาจักร ถือว่าการให้บริการนั้นเป็นการให้บริการในราชอาณาจักรอยู่ในบังคับต้อง เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ก ผู้จ่ายเงินค่าบริการให้แก่ บริษัทฯ มีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัทฯ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามมาตรา 83/6(2) แห่ง ประมวลรัษฎากร โดยต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36) ณ ที่ว่าการอำเภอภายในเจ็ดวันนับแต่ วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้ให้แก่บริษัทฯ ตามมาตรา 83/6 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร 2. กรณีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ค่าตอบแทนจากการรับจ้างซ่อมแซมเครื่องยนต์เก่า ตาม ข้อเท็จจริงดังกล่าว เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จึงไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 70 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น เมื่อ ก จ่ายเงินได้ ดังกล่าว ก ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายแต่อย่างใด |
เลขตู้ | : 66/33053 |