เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0706/5972
วันที่: 22 มิถุนายน 2547
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีขอยกเว้นภาษีสำหรับการจัดงานแสดงคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
ข้อกฎหมาย: มาตรา 82/4, มาตรา 81(1)(ธ)
ข้อหารือ: คณะทำงานพิจารณากลั่นกรองโครงการและกิจกรรมร่วมเฉลิมพระเกียรติมีมติให้โครง
การจัดการแสดงของคนพิการเฉลิมพระเกียรติเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 12 สิงหาคม
2547 โดยส่วนราชการได้จัดให้มีการแสดงคอนเสิร์ต "ฝันมีชีวิต" (Living Dream) ซึ่งคณะกรรมการ
ดำเนินการจัดการแสดงของคนพิการเฉลิมพระเกียรติฯ ได้มีมติให้ว่าจ้างบริษัท V เข้ามาดำเนินการจัด
การแสดงดังกล่าว โดยจัดในวันอังคารที่ 22 มิถุนายน 2547 ณ หอประชุมใหญ่ศูนย์วัฒนธรรมแห่ง
ประเทศไทย
จึงขอยกเว้นการเสียภาษีในการจัดการแสดงคอนเสิร์ตเฉลิมพระเกียรติสมเด็จ
พระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6
รอบ ดังนี้
1. การดำเนินงานของบริษัท V เป็นเงิน 850,000.-บาท ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา
ร้อยละ 7 เป็นเงิน 59,500.-บาท รวมเป็นเงิน 909,500.- บาท ขอยกเว้นภาษีจำนวน 59,500.- บาท
2. รายได้ที่เกิดจากการแสดงและการจำหน่ายบัตรซึ่งจะต้องมีการเสียภาษีเข้ามา
เกี่ยวข้อง ขอยกเว้นภาษีเนื่องจากเป็นการแสดงเพื่อการกุศล ซึ่งจะนำรายได้ทั้งหมดขึ้น
ทูลเกล้าถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
แนววินิจฉัย: 1. การประกอบกิจการของบริษัท V ที่รับบริหารจัดการด้านการแสดงดังกล่าวเข้าลักษณะเป็น
การให้บริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
จากมูลค่าทั้งหมดที่ได้รับจากการให้บริการตามมาตรา 77/2 และมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร โดย
บริษัทฯ ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากผู้ว่าจ้างซึ่งเป็นผู้รับบริการเมื่อความรับผิดในการเสีย
ภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ทั้งนี้ ตามมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากร และไม่มีบทบัญญัติใดตามกฎหมายที่
จะยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มให้ส่วนราชการตามที่ขอได้
2. รายได้ที่เกิดจากการแสดงและการจำหน่ายบัตรจะมีภาระภาษีที่เกี่ยวข้องโดยแยกพิจารณา
ได้ดังนี้
(1) ภาษีเงินได้นิติบุคคล เนื่องจากส่วนราชการไม่เข้าลักษณะเป็น
"บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล" ตามบทนิยามในมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และไม่เข้าลักษณะเป็น
"คณะบุคคล" อันต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้นเงินได้
จากการจัดงานแสดงคอนเสิร์ตดังกล่าวจึงไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
(2) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ส่วนราชการมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตรา
ร้อยละ 1 ตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และอัตราภาษีที่กำหนดตามมาตรา 50 แห่ง
ประมวลรัษฎากร แล้วแต่กรณี
(3) ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากส่วนราชการนำเงินรายรับจากการจัดงานแสดงคอนเสิร์ต
ดังกล่าวทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศลโดยมิได้นำผลกำไรไปจ่ายในทางอื่นนอกจากเพื่อ
ประโยชน์แก่การสาธารณกุศลภายในประเทศ เข้าลักษณะเป็นการให้บริการเพื่อประโยชน์แก่การ
สาธารณกุศล ซึ่งไม่นำผลกำไรไปจ่ายในทางอื่นจึงได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(1)(ธ)
แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 67/33001


 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020