เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0706/5848
วันที่: 18 มิถุนายน 2547
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีธุรกรรมการซื้อขาย Option ของธนาคารพาณิชย์
ข้อกฎหมาย: มาตรา 40(8), มาตรา 91/2(1), มาตรา 91/5(1)
ข้อหารือ: สมาคม ธ. ขอหารือเรื่อง ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีธุรกรรมการ
ซื้อขาย Option ของธนาคารพาณิชย์ โดยสมาคมฯ เห็นว่า กรณีธุรกรรมการซื้อขาย Option ของ
ธนาคารพาณิชย์ เนื่องจาก Option premium เป็นการจ่ายเงินเพื่อซื้อสิทธิเรียกร้อง
(ทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่าง) ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ประเภท
กำไรจากการซื้อขายทรัพย์สิน เมื่อผู้ซื้อจ่ายเงินค่า Option premium ให้กับธนาคารพาณิชย์ จึงไม่ต้อง
หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 และในแต่ละเดือนภาษี ธนาคารพาณิชย์ต้องเสีย
ภาษีธุรกิจเฉพาะจากกำไรจากการตีราคาทุนเทียบกับราคาตลาดและกำไรที่เกิดขึ้นจริง ณ วันที่ใช้สิทธิ
(exercise date) จึงขอถามว่าความเข้าใจของสมาคมฯ ถูกต้องหรือไม่
แนววินิจฉัย: 1. เนื่องจากสิทธิตามสัญญา Option เป็นทรัพย์สิน การจ่ายเงิน Option pr emium เพื่อ
ซื้อสิทธิตามสัญญา Option จึงเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่ง
ประมวลรัษฎากร ผู้จ่ายเงิน Option premium ให้แก่ธนาคารพาณิชย์ จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้
ณ ที่จ่าย
2. การประกอบกิจการธนาคารอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2(1)
แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น ธนาคารพาณิชย์มีหน้าที่ต้องนำกำไรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ จากการซื้อขาย
Option มาเป็นรายรับ เพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/5(1) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 67/32993


 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020