เลขที่หนังสือ | : กค 0706/พ./337 |
วันที่ | : 21 เมษายน 2547 |
เรื่อง | : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณียกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายอัญมณี ทองคำขาว ทองขาว เงิน และพาลาเดียม |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 81/1, พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 354) พ.ศ. 2542, ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2546 |
ข้อหารือ | : กรณียกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข สำหรับการนำเข้าหรือการขายเพชร พลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก ไข่มุก และอัญมณีที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน รวมทั้งสิ่งทำเทียมวัตถุดังกล่าว หรือที่ ทำขึ้นใหม่เฉพาะที่ยังมิได้ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือนหรือของรูปพรรณ เพื่อใช้ในการผลิตอัญมณีที่เป็น เครื่องประดับหรือของใช้ใด ๆ และการนำเข้าหรือการขายทองคำขาว ทองขาว เงินและพาลาเดียม เฉพาะที่ยังมิได้ประกอบขึ้นเป็นของรูปพรรณของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2546 เนื่องจากตามข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ กำหนดให้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้ซื้ออัญมณี ทองคำขาว ทองขาว เงิน และพาลาเดียม จากผู้ประกอบการ จดทะเบียนตามข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ ต่อมาได้ขายอัญมณี ทองคำขาว ทองขาว เงิน และพาลาเดียม ที่ซื้อมาดังกล่าวให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนตามข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ การขายอัญมณี ทองคำขาว ทองขาว เงิน และพาลาเดียม ของผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวจะได้ รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ผษ. จึงขอทราบว่า กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ซื้ออัญมณี ทองคำขาว ทองขาว เงิน และพาลาเดียมจากผู้ประกอบการซึ่งมีรายรับไม่เกิน 1,200,000 บาทต่อปี และต่อมา ได้ขายอัญมณี ทองคำขาว ทองขาว เงิน และพาลาเดียมให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้รับ ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ การขายอัญมณี ทองคำขาว ทองขาว เงิน และพาลาเดียมดังกล่าวจะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ ดังกล่าว หรือไม่ |
แนววินิจฉัย | : 1. กรณีผู้ประกอบการประกอบกิจการขายอัญมณี ทองคำขาว ทองขาว เงิน และพาลาเดียม และมีมูลค่าของฐานภาษีไม่เกินมูลค่าของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อม กล่าวคือ ไม่เกิน 1,200,000 บาทต่อปี ผู้ประกอบการย่อมได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81/1 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดมูลค่า ของฐานภาษีของกิจการขนาดย่อมซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 354) พ.ศ. 2542 2. กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้ซื้ออัญมณี ทองคำขาว ทองขาว เงินและพาลาเดียม มาจากผู้ประกอบการตาม 2.1 และได้นำมาขายให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีคุณสมบัติตามข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ ดังกล่าว เนื่องจากข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ กำหนด ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายอัญมณี ทองคำขาว ทองขาว เงิน และพาลาเดียม ต้องซื้ออัญมณี ทองคำขาว ทองขาว เงิน และพาลาเดียม จากผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่มีคุณสมบัติตามข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ และต้องขายอัญมณี ทองคำขาว ทองขาว เงิน และพาลาเดียมดังกล่าวให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีคุณสมบัติตามข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ ด้วยกัน ดังนั้น กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีคุณสมบัติตามข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ ได้ ซื้ออัญมณี ทองคำขาว ทองขาว เงิน และพาลาเดียม จากผู้ประกอบการซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81/1 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 354) พ.ศ. 2542 และได้ขายให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีคุณสมบัติตามข้อ 3 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ การขายอัญมณี ทองคำขาว ทองขาว เงิน และพาลาเดียมดังกล่าว จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะได้รับสิทธิ ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 311) พ.ศ. 2540 ประกอบกับ ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ ลงวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2546 แต่อย่างใด |
เลขตู้ | : 67/32925 |