เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0706/พ./4323
วันที่: 4 พฤษภาคม 2547
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขอคืนภาษี
ข้อกฎหมาย: มาตรา 84/1
ข้อหารือ: บริษัทฯ ทำสัญญารับเหมางานกับหน่วยงานราชการโครงการก่อสร้างทางหลวงสัญญาเริ่มตั้งแต่
วันที่ 29 กันยายน 2538-2 พฤษภาคม 2541 และได้มีการขยายระยะเวลาก่อสร้างออกไป 3 ครั้ง
วันสิ้นสุดตามสัญญาที่ขยายระยะเวลา คือ วันที่ 31 กรกฎาคม 2541 ซึ่งบริษัทฯได้รับสิทธิเสีย
ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ต่อไป จนถึงวันสิ้นสุดของสัญญา คือ วันที่ 31 กรกฎาคม 2541
ต่อมาวันที่ 6 พฤษภาคม 2542 บริษัทฯ มีหนังสือขอเบิกเงินชดเชยภาษีมูลค่าเพิ่มอีกร้อยละ 3.0 จำนวน
2,045,394.69 บาท เป็นค่างานงวดที่ 27-31 และค่า K บางส่วน โดยยึดจุดความรับผิดตามวันที่ที่รับ
เงินภายหลังจากวันสิ้นสุดตามสัญญา (วันที่ 31 กรกฎาคม 2541) ซึ่งบริษัทฯ ได้ยื่นชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม
เพิ่มเติมในส่วนร้อยละ 3.0 ตามหนังสือด่วนที่สุดที่ กค 0811/พ.01555 ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2542
เป็นจำนวนเงิน 2,045,394.69 บาท เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2542 หลังจากที่บริษัทฯ นำส่ง
ภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว บริษัทฯ ได้รับการติดต่อจากหน่วยงานราชการขอให้ออกใบแจ้งหนี้ใหม่ สำหรับค่างาน
งวดและค่า K งวดที่ 29 – 32 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2545 เป็นเงินจำนวน 1,521,058.60 บาท
โดยหน่วยงานราชการแจ้งให้บริษัทฯ ทราบว่า การได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 ให้
ถือวันที่ส่งมอบงานไม่ใช่วันที่รับเงินตามที่บริษัทฯเข้าใจ โดยหน่วยงานราชการได้ชำระเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม
ในส่วนที่เพิ่มเติมร้อยละ 3.0 ให้บริษัทฯ เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2546 เป็นจำนวนเงิน 1,521,059.60
บาท เมื่อบริษัทฯ ทราบว่าได้นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับงานงวดที่ 27-28 เกินไป จึงได้ยื่นคำร้องขอคืน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ค.10) เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2546 เพื่อขอคืนภาษีในส่วนที่นำส่งไว้เกิน เนื่องจาก
เข้าใจคลาดเคลื่อนในเรื่องจุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
แนววินิจฉัย: กรณีบริษัทฯ ยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติมอีกร้อยละ 3.0 เมื่อวันที่ 28
ธันวาคม 2542 สำหรับค่างวดงานที่ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 7.0 ซึ่งบริษัทฯ ได้ยื่น
แบบแสดงรายการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7.0 ไปแล้ว จึงเป็นกรณีที่บริษัทฯ ได้เสียภาษีมูลเพิ่มไว้
เกินไปโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติมอีกร้อยละ 3.0 กรณีดังกล่าว บริษัทฯ มีสิทธิยื่น
คำร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ได้ชำระภาษี ตามมาตรา 84/1(2) แห่ง
ประมวลรัษฎากร ดังนั้น เมื่อบริษัทฯ ได้ยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มเติมร้อยละ 3.0
ไว้เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2542 แต่ยื่นคำร้องขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2546 บริษัทฯ
จึงไม่มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว เนื่องจากเกินกำหนดเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ได้ชำระภาษีตาม
มาตรา 84/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 67/32916


 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020