เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0706/2901
วันที่: 22 มีนาคม 2547
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพที่รับซื้อหรือรับโอนจากสถาบันการเงิน
ข้อกฎหมาย: พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 362) พ.ศ. 2542
ข้อหารือ: บริษัทบริหารสินทรัพย์ ก. แจ้งว่า บริษัทจดทะเบียนไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อ
ประกอบธุรกิจเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ ตามพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 เมื่อวันที่
28 มกราคม 2542 บริษัทฯ รับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจากบริษัท ก. ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน โดย
กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัท ก.ร้อยละ 96.24 ของหุ้นที่มีสิทธิ
ออกเสียง และบริษัท ก. ถือหุ้นในบริษัทฯ จำนวน 546,999,993 หุ้น ในจำนวน 547,000,000 หุ้น
ซึ่งถือเป็นร้อยละ 99.99 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง ต่อมาบริษัท ก. ได้โอนกรรมสิทธิ์หุ้นของบริษัท
จำนวน 546,999,993 หุ้น ให้กับกองทุนฯ ตามคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย จึงถือได้
ว่า กองทุนฯ เป็นผู้ถือหุ้นโดยตรงในบริษัทฯ ร้อยละ 99.99 บริษัทฯ จึงหารือว่า
1. บริษัทฯ จะต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพที่รับซื้อ
หรือรับโอนจากสถาบันการเงินหรือไม่
2. หากกรณีตาม 1. บริษัทฯ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ด้อย
คุณภาพ ซึ่งจ่ายเงินค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวยังคงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แล้วนำส่ง
พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในขณะที่มีการจดทะเบียนหรือไม่
3. กรณีบริษัทฯ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตาม 1. แต่ได้ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย นำส่ง
พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมไปแล้ว บริษัทฯ มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนภาษีเงินได้หัก ณ
ที่จ่าย ซึ่งนำส่งเจ้าพนักงานที่ดินผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมไปแล้วหรือไม่ภายในกำหนดเวลาใด
แนววินิจฉัย: 1. กรณีบริษัทฯ มีกำไรสุทธิที่ได้จากการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่รับซื้อหรือรับโอนจาก
บริษัท ก. โดยมีกองทุนฯ เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทฯ ร้อยละ 99.99 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง ซึ่งเข้า
ลักษณะเป็นการที่บริษัทฯ นั้นมีกองทุนฯ เป็นผู้ถือหุ้นโดยตรงไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิ
ออกเสียง บริษัทฯ จึงได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่
รับซื้อหรือรับโอนจากสถาบันการเงินตามมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 362) พ.ศ. 2542
ซึ่งใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นไป ดังนั้น
ผู้ซื้อหรือผู้จ่ายเงินได้กรณีนี้ จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 1 แล้วนำส่ง
พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ในขณะที่มีการจดทะเบียนตามมาตรา 69 ตรี แห่ง
ประมวลรัษฎากร โดยบริษัทฯ ต้องทำหนังสือรับรองการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นทั้งหมด และถ่ายสำเนาและ
รับรองความถูกต้องของหนังสือรับรองการถือหุ้นที่ออกโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
(กรมทะเบียนการค้าเดิม) ด้วย
2. บริษัทฯ มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และนำส่งแล้ว ภายในสามปีนับแต่
วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษีตามที่กฎหมายกำหนดตามมาตรา 27 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 67/32865

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020