เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0706/2057
วันที่: 1 มีนาคม 2547
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการให้บริการเรียกเก็บเงินตามเช็คข้ามเขตสำนักหักบัญชี และกรณีการขอผ่อนผันการใช้รายงานการชำระค่าธรรมเนียมและภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายระหว่างธนาคารผ่านระบบ B/C 3 วัน เป็นหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
ข้อกฎหมาย: มาตรา 50 ทวิ (1), มาตรา 50 ทวิ วรรคสาม, มาตรา 105 ทวิ และคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ
ข้อหารือ: กรมสรรพากรพิจารณาเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย กรณีการให้บริการเรียกเก็บเงินตาม
เช็คข้ามเขตสำนักหักบัญชี และกรณีการขอผ่อนผันการใช้รายงานการชำระค่าธรรมเนียมและภาษีเงินได้
หัก ณ ที่จ่ายระหว่างธนาคารผ่านระบบ B/C 3 วัน เป็นหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนี้
1. กรณีปัญหาทางปฏิบัติเกี่ยวกับการให้บริการเรียกเก็บเงินตามเช็คข้ามเขตสำนักหักบัญชี
จากแนวทางปฏิบัติตามที่กรมสรรพากรได้แจ้งให้ ธ. ทราบตาม 1.2(ข) ปรากฏว่า วิธีการออก
หนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายของธนาคารผู้ส่งเรียกเก็บซึ่งเป็นธนาคารสมาชิกสมทบของ ธ
. ดังกล่าวมีความยุ่งยากและไม่สะดวกในการปฏิบัติเป็นอย่างมาก ธ. จึงขอให้กรมสรรพากรปรับเปลี่ยน
วิธีการออกหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายของธนาคารสมาชิกสมทบ โดยให้ถือปฏิบัติในลักษณะ
เดียวกันกับกรณีธนาคารสมาชิกสามัญ กล่าวคือ ให้ถือว่าธนาคารสมาชิกสมทบในฐานะธนาคารผู้ส่ง
เรียกเก็บเป็นผู้จ่ายค่าธรรมเนียมการเรียกเก็บเงินตามเช็คข้ามเขตสำนักหักบัญชีให้แก่ธนาคารผู้จ่าย
มิใช่เป็นตัวแทนของผู้ใช้บริการซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าว
2. กรณีการขอผ่อนผันการใช้รายงานการชำระค่าธรรมเนียมและภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ระหว่างธนาคารผ่านระบบ B/C 3 วัน เป็นหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
แนววินิจฉัย: 1. กรณีที่กรมสรรพากรได้มีหนังสือขอให้ ธ. แจ้งธนาคารสมาชิกให้ถือปฏิบัติกรณีธนาคารผู้ส่ง
เรียกเก็บ ซึ่งเป็นธนาคารสมาชิกสมทบ จ่ายค่าธรรมเนียมการเรียกเก็บเงินตามเช็คข้ามเขตสำนัก
หักบัญชีที่เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการให้กับธนาคารผู้จ่ายทั้งจำนวน ให้ถือว่าธนาคารผู้ส่งเรียกเก็บเป็น
ตัวแทนของผู้ใช้บริการซึ่งเป็นผู้จ่ายเงิน หากการจ่ายตามสัญญารายหนึ่ง ๆ มีจำนวนตั้งแต่หนึ่งพันบาทขึ้น
ไป ธนาคารผู้ส่งเรียกเก็บมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย จากธนาคารผู้จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0
และออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้กับธนาคารผู้จ่ายในทันทีทุกครั้งที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย
โดยใช้แบบพิมพ์หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายของธนาคารผู้ส่งเรียกเก็บซึ่งเป็นตัวแทน แต่จะต้อง
ระบุชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ใช้บริการด้วย และให้ธนาคารผู้ส่งเรียกเก็บซึ่งเป็น
ตัวแทนส่งสำเนาหนังสือรับรองการหักภาษี ณที่จ่ายให้กับผู้ใช้บริการ เพื่อผู้ใช้บริการจะได้นำไปยื่น
รายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามแบบภ.ง.ด. 53 ต่อไปนั้น เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า ในการออก
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย โดยธนาคารผู้ส่งเรียกเก็บจะต้องระบุชื่อ ที่อยู่ และ
เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ใช้บริการในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้ง มีความยุ่งยากและ
ไม่สะดวกในการปฏิบัติ จึงขอให้ ธ. แจ้งธนาคารสมาชิกให้ถือปฏิบัติดังนี้
(1) กรณีผู้ใช้บริการซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นจ่าย
ค่าธรรมเนียมในการเรียกเก็บเงินตามเช็คข้ามเขตสำนักหักบัญชีให้กับธนาคารผู้ส่งเรียกเก็บ หากการ
จ่ายตามสัญญารายหนึ่ง ๆ มีจำนวนตั้งแต่หนึ่งพันบาทขึ้นไป ผู้ใช้บริการมีหน้าที่ต้องหักภาษี เงินได้ ณ
ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3.0 ของค่าบริการจากธนาคารผู้จ่าย ตามข้อ 12/1 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่
ท.ป. 4/2528 ฯ ลงวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่
ท.ป.104/2544 ฯ ลงวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2544 โดยผู้ใช้บริการมีหน้าที่ออก
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ในนามของธนาคารผู้จ่ายในทันทีทุกครั้งที่มีการหักภาษี ณที่จ่าย ตาม
มาตรา 50 ทวิ(1) แห่งประมวลรัษฎากร และมีหน้าที่ต้องยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณที่จ่ายตามแบบ
ภ.ง.ด.53 ด้วย และเมื่อธนาคารผู้ส่งเรียกเก็บได้รับเงินค่าธรรมเนียมจาก ผู้ใช้บริการ ธนาคารผู้ส่ง
เรียกเก็บมีหน้าที่ต้องออกใบรับตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้ใช้บริการในฐานะเป็น
ตัวแทนของธนาคารผู้จ่าย โดยธนาคารผู้ส่งเรียกเก็บจะต้องมีหลักฐานหรือเอกสารอื่นใดที่มีเนื้อหาแสดงว่า
กระทำการในฐานะเป็นตัวแทนของธนาคารผู้จ่าย ได้แก่
(ก) การทำสัญญาแต่งตั้งตัวแทนเป็นลายลักษณ์อักษร หรือ
(ข) เพิ่มเติมข้อความในใบเสร็จรับเงินที่ธนาคารผู้ส่งเรียกเก็บออกให้แก่
ผู้ใช้บริการ โดยมีสาระสำคัญว่ากระทำการในฐานะเป็นตัวแทนของธนาคารผู้จ่ายในการรับชำระ
ค่าธรรมเนียมและออกใบเสร็จรับเงิน
(2) กรณีธนาคารผู้ส่งเรียกเก็บนำส่งค่าธรรมเนียมการเรียกเก็บเงินตามเช็คข้ามเขต
สำนักหักบัญชีที่เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการให้แก่ธนาคารผู้จ่ายทั้งจำนวน และส่งหนังสือรับรองการหักภาษี
เงินได้ ณ ที่จ่ายตาม (1) ให้แก่ธนาคารผู้จ่าย ถือว่าธนาคารผู้ส่งเรียกเก็บกระทำการเป็นตัวแทนของ
ธนาคารผู้จ่ายในการเรียกเก็บและนำส่งค่าธรรมเนียมตลอดจนส่งหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้
กับธนาคารผู้จ่ายเท่านั้น ดังนั้น เมื่อธนาคารผู้ส่งเรียกเก็บนำส่งค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการ
ให้กับธนาคารผู้จ่ายทั้งจำนวน ธนาคารผู้ส่งเรียกเก็บจึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่
อย่างใด
2. กรณีการขอผ่อนผันการใช้รายงานการชำระค่าธรรมเนียมและภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ระหว่างธนาคารผ่านระบบ B/C 3 วัน เป็นหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เนื่องจากการส่ง
รายงานการชำระค่าธรรมเนียมและภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายผ่านระบบ B/C 3 วัน ของธนาคารสมาชิก
ให้แก่ ธ. ผู้ใช้งานต้องมีกุญแจรหัสคู่ (Private/Public Key Pair) และใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์(
Digital Certificate หรือ Certificate) ในการทำงาน โดยรายงานดังกล่าวจะถูกเก็บใน
ระบบรักษาความปลอดภัยของการใช้งานและระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยผู้ส่งรายงานต้อง
ยืนยันความถูกต้องของข้อมูลในรายงานที่ส่งผ่านระบบ Digital Signature ในกรณีเกิดข้อโต้แย้งหรือ
ข้อสงสัยเกี่ยวกับ Digital Signature ของผู้ส่งข้อมูล ธ. จะทำการตรวจสอบหรือพิสูจน์ความถูกต้อง
ได้จากหลักฐานที่เก็บไว้ในฐานข้อมูลและเอกสารใบรับรองที่ ธ. เก็บไว้ ซึ่งระบบการรักษา
ความปลอดภัยดังกล่าวใช้กับการส่งรายงานการชำระค่าธรรมเนียมและภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายผ่านระบบ
Media Clearing ทางอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารสมาชิกให้แก่ ธ. ซึ่งได้รับการผ่อนผันจาก
กรมสรรพากรให้ใช้เป็นหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว กรณีดังกล่าวจึงเห็นควรผ่อนผันให้
ธนาคารสมาชิกผู้ส่งข้อมูลใช้รายงานการชำระค่าธรรมเนียมและภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายระหว่างธนาคาร
ผ่านระบบ B/C 3 วัน ที่ ธ. ส่งมาประกอบการพิจารณาเป็นหนังสือรับรองการหักภาษี ณที่จ่ายได้ ทั้งนี้
ตามมาตรา 50 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 67/32853


 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020