เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0706/1474
วันที่: 12 กุมภาพันธ์ 2547
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการขายเรือเก่าเพื่อซื้อเรือใหม่
ข้อกฎหมาย: มาตรา 65 ตรี (12)
ข้อหารือ: บริษัท ส. ประกอบกิจการประเภทบริการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศ บริษัทฯ ได้
จดทะเบียนขอรับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย
การยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 314) พ.ศ. 2540 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2542 บริษัทฯ ให้บริการขนส่ง
สินค้าทางทะเลระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเลของบริษัทฯ ชื่อ เรือ ส. ซึ่งเป็นเรือสัญชาติไทยที่
จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมพาณิชย์นาวี เนื่องจากเรือ ส. ได้ประสบอุบัติเหตุจมลงที่
ต่างประเทศ เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2546 โดยจมอยู่ในทะเลลึก บริษัทฯ ไม่ได้กู้เรือดังกล่าวขึ้นมา
เนื่องจากไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย ซึ่งขณะนี้บริษัทฯ ได้ดำเนินการขอรับค่าสินไหมทดแทนความเสียหายจาก
บริษัทประกันภัยที่เป็นนิติบุคคลในต่างประเทศ โดยบริษัทฯ จะนำเงินดังกล่าวไปจัดซื้อเรือลำใหม่เพื่อมา
ทดแทน โดยเรือลำใหม่ที่จะซื้อจะมีอายุการใช้งานน้อยกว่าและมีระวางบรรทุกมากกว่าเรือลำที่จมพร้อม
กับทำการจดทะเบียนเป็นเรือไทย แต่เนื่องจากบริษัทฯ ยังไม่ได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนจากบริษัท
ประกันภัย บริษัทฯ มีความจำเป็นต้องจัดหาแหล่งเงินทุนอื่น เช่น การกู้ยืมเงินเพื่อนำมาซื้อเรือลำใหม่
และเมื่อบริษัทฯ ได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยก็จะนำไปชำระคืนเงินกู้ดังกล่าว ทั้งนี้
เพื่อไม่ให้กิจการของบริษัทฯ สะดุดหยุดลง บริษัทฯ จึงขอทราบว่า
1. เงินค่าสินไหมทดแทนที่บริษัทฯ ได้รับจากบริษัทประกันภัย จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตาม
พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่
299) พ.ศ. 2539 หรือไม่ และหากจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนที่บริษัทฯ ได้รับมีจำนวนสูงกว่าราคา
เรือลำใหม่ที่ซื้อมา ผลต่างระหว่างเงินค่าสินไหมทดแทนและราคาจากการซื้อเรือลำใหม่ บริษัทฯ ต้องถือ
เป็นเงินได้เพื่อรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่
2. หากเงินค่าสินไหมทดแทนที่บริษัทฯ ได้รับ เข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นตาม
พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 299) พ.ศ. 2539 บริษัทฯ ต้องซื้อเรือลำใหม่ภายในเวลา 1 ปี นับแต่วันที่
เรือจมหรือนับแต่วันที่ได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทฯ ประกันภัย
3. การแจ้งการขายเรือเก่าและซื้อเรือใหม่เป็นหนังสือต่ออธิบดีกรมสรรพากรภายใน 30
วันนั้น จะนับจากวันที่ถือว่าขายเรือลำเก่าหรือวันที่ซื้อเรือลำใหม่พร้อมจดทะเบียนเป็นเรือไทย
แนววินิจฉัย: 1. ตามข้อเท็จจริง เรือลำดังกล่าวได้ทำประกันภัยไว้กับบริษัทประกันภัย เนื่องจากเรือ
ประสบอุบัติเหตุจมลง อันเป็นเหตุให้บริษัทฯ ได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย โดยที่บริษัทฯ
ไม่ได้ขายซากเรือดังกล่าวให้กับบริษัทประกันภัยเนื่องจากไม่ได้กู้เรือดังกล่าวขึ้นมาจากทะเล เงิน
ค่าสินไหมทดแทนที่บริษัทฯ ได้รับไม่เข้าลักษณะเป็นเงินได้ที่ได้จากการขายเรือเดินทะเลตามมาตรา 4
แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 299) พ.ศ. 2539 แต่ประการใด
2. กรณีเรือ ส. ของบริษัทฯ ประสบอุบัติเหตุจมลงในทะเล ถือได้ว่าเป็นผลเสียหายอันอาจ
ได้รับกลับคืนเนื่องจากการประกันภัย ดังนั้น เมื่อทรัพย์สินได้รับความเสียหายและกำลังรอการชดใช้จาก
บริษัทประกันภัย หากได้สิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีไป บริษัทฯ จะตัดผลเสียหายดังกล่าวเป็นรายจ่ายทันที
ไม่ได้ ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทฯ จะต้องรอจนกว่าจะได้รับ
ค่าสินไหมที่ได้รับชดใช้จากบริษัทประกันภัยเสียก่อน ถ้าผลเสียหายมากกว่าค่าชดใช้ ผลต่างถือเป็น
ผลเสียหายที่มีสิทธิหักเป็นรายจ่ายได้ แต่ถ้าค่าชดใช้สูงกว่าค่าเสียหาย ผลต่างถือเป็นรายได้ จึงต้องนำ
มารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย
เลขตู้: 67/32827


 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020