เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0706/พ./7328
วันที่: 30 กรกฎาคม 2546
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเฉลี่ยภาษีซื้อ
ข้อกฎหมาย: ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29)ฯ
ข้อหารือ: กรณีมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเทพและมีสำนักงานสาขาอยู่ที่แหลมฉบัง โดยประกอบกิจการทั้ง
ประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มคิดเป็นสัดส่วน 86.43:13.57
ของรายได้ทั้งหมด (รายได้รวมของสำนักงานใหญ่กรุงเทพและที่แหลมฉบัง)แต่เฉพาะรายได้ของ
สำนักงานใหญ่ มีรายได้จากกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มคิดเป็นอัตราร้อยละ 97.77 ของรายได้
ทั้งหมด สำหรับที่แหลมฉบังมีรายได้จากกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มคิดเป็นอัตราร้อยละ 52.20 ของ
รายได้ทั้งหมด จึงมีความประสงค์ขอเปลี่ยนแปลงการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มของสำนักงานใหญ่ โดยนำ
ภาษีซื้อทั้งจำนวนไปหักออกจากภาษีขาย ตามข้อ 3(1) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29)ฯ ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2535 สำหรับที่แหลมฉบังยังคงคำนวณ
ภาษีมูลค่าเพิ่มโดยการเฉลี่ยภาษีซื้อเช่นเดิม
แนววินิจฉัย: กรณีประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ได้นำสินค้าหรือบริการที่ได้มาหรือได้รับมาในการประกอบกิจการของตนไปใช้หรือจะใช้ในกิจการทั้งสอง
ประเภท ถ้าไม่สามารถแยกได้อย่างชัดแจ้งว่าภาษีซื้อที่เกิดจากสินค้าหรือบริการดังกล่าวเป็นภาษีซื้อของ
กิจการประเภทใด ก็ให้เฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ของแต่ละกิจการ ทั้งนี้ ตามข้อ 2 ของ
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29)ฯ ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2535
โดยการคำนวณเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ของแต่ละกิจการดังกล่าว ผู้ประกอบการจะต้องใช้ฐาน
รายได้ของทุกสถานประกอบการรวมกัน ดังนั้น เมื่อประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มคิดเป็นสัดส่วน 86.43:13.57 ของรายได้ทั้งหมด (รายได้รวม
ของสำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพและที่แหลมฉบัง) จึงต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มโดยการเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วน
ของรายได้ของแต่ละกิจการตามข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่
29)ฯ ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2535 สำนักงานใหญ่จะนำภาษีซื้อทั้งจำนวนไปหักออกจากภาษีขายไม่ได้
เลขตู้: 66/32583

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020