เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0706/ก.00201
วันที่: 18 กรกฎาคม 2546
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีการขายอสังหาริมทรัพย์
ข้อกฎหมาย: มาตรา 39, มาตรา 3(6) แห่งพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 342)ฯ พ.ศ. 2541
ข้อหารือ: นางสาว ส. หารือกรณีการโอนอสังหาริมทรัพย์คืนจากนาง อ. ว่าจะต้องเสียภาษีเงินได้
บุคคลธรรมและภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือไม่
แนววินิจฉัย: 1. กรณีภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถือว่าตามคำฟ้องและคำพิพากษาตาม
สัญญาประนีประนอมยอมความเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2538 เป็นกรณีปรากฏชัดแจ้งว่า ตัวแทนถือ
กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์แทนตัวการ เมื่อตัวแทนจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์คืนให้ตัวการโดยไม่ได้รับ
เงินหรือประโยชน์อื่นใดเป็นการตอบแทนการโอนดังกล่าวไม่ถือเป็นการ "ขาย" ตามมาตรา 39 แห่ง
ประมวลรัษฎากร ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ตามข้อ 10(11) ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.100/2543
เรื่อง การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและอากรแสตมป์ กรณีการขาย การโอนกรรมสิทธิ์หรือ
สิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543
2. กรณีภาษีธุรกิจเฉพาะ การโอนที่ดินให้นาง อ. ตั้งแต่วันที่ 5 สิงหาคม 2530 เมื่อจะมี
การโอนที่ดินคืนในปัจจุบันถือว่าเป็นการโอนที่ดินที่กระทำภายหลังห้าปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่ง ที่ดิน จึงไม่เข้า
ลักษณะเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไร ตามมาตรา 3(6) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ
(ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541 จึงไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 91/2(6) แห่ง
ประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 66/32558

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020