เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0811/พ./7441
วันที่: 1 สิงหาคม 2546
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน
ข้อกฎหมาย: มาตรา 81(1)(ฐ)
ข้อหารือ: บริษัทฯ ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและ
พนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 ได้ทำสัญญาจ้างผู้บริหารบริษัทฯ ตามสัญญาจ้างบริหารในตำแหน่ง
กรรมการผู้จัดการ ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2544 แต่เนื่องจากพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับ
กรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานฯ (
ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2543 ได้กำหนดให้ผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการแต่งตั้งภายหลังพระราชบัญญัติ
คุณสมบัติมาตรฐานฯ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2543 มีผลใช้บังคับ ไม่มีฐานะเป็นพนักงานของรัฐวิสาหกิจ
(มาตรา 8 ทวิ) โดยให้ทำเป็นสัญญาจ้างคราวละไม่เกินสี่ปี (มาตรา 8 จัตวา วรรคสี่) และมีข้อกำหนด
เกี่ยวกับการดำรงตำแหน่ง เงื่อนไขการทำงาน การพ้นจากตำแหน่ง เงื่อนไขการเลิกสัญญาจ้าง
การประเมินผลการทำงาน และค่าจ้างหรือผลประโยชน์อื่นของผู้บริหาร (มาตรา 8 จัตวา วรรคหก)
และกำหนดให้สัญญาจ้างดังกล่าว ไม่อยู่ในบังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วย
แรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยประกันสังคม และกฎหมาย
ว่าด้วยเงินทดแทน (มาตรา 8 จัตวา วรรคห้า) บริษัทฯ จึงหารือว่า การให้บริการของผู้บริหาร ใน
ตำแหน่งกรรมการ ผู้จัดการตามสัญญาจ้างดังกล่าว ถือเป็นการให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งได้รับ
ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ฐ) แห่งประมวลรัษฎากร หรือไม่
แนววินิจฉัย: สัญญาจ้างบริหารในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัท โดยผู้บริหารมีหน้าที่ความรับผิดชอบและ
ปฏิบัติงานภายใต้ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง หรือมติของคณะกรรมการบริษัท โดยได้รับค่าตอบแทนเป็น
เงินเดือน เงินที่ได้รับตามสัญญาจ้างดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามมาตรา
40(1) แห่งประมวลรัษฎากร จึงได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81(1)(ฐ) แห่ง
ประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 66/32590


 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020