เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0706/พ./6058
วันที่: 26 มิถุนายน 2546
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีภาษีซื้อจากการก่อสร้างอาคาร
ข้อกฎหมาย: มาตรา 82/5(6), ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)ฯ คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.90/2542 ฯ
ข้อหารือ: สำนักงานสรรพากรพื้นที่ได้ทำการตรวจปฏิบัติการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเดือนภาษีมกราคม
2545 ถึงเดือนภาษีมิถุนายน 2545 ราย บริษัท โรงแรม ช. ผลการตรวจพบว่า บริษัทฯ ได้ก่อสร้าง
อาคารบนที่ดินของราชพัสดุ ภายใต้เงื่อนไขสัญญาก่อสร้างอาคารยกกรรมสิทธิ์ให้กระทรวงการคลัง ฉบับ
เลขที่ 8/2540 ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2540 ข้อ 8 และข้อ 9 ซึ่งระบุว่า เมื่อก่อสร้างอาคารและ
สิ่งปลูกสร้างตามโครงการในสัญญาเสร็จสมบูรณ์แล้ว บริษัทฯ จะต้องส่งมอบอาคารและสิ่งปลูกสร้างให้แก่
กระทรวงการคลัง และเมื่อคณะกรรมการของกระทรวงการคลังตรวจรับมอบอาคารและสิ่งปลูกสร้างแล้ว
ให้กรรมสิทธิ์อาคารและสิ่งปลูกสร้างตกเป็นของกระทรวงการคลังทันทีตั้งแต่วันที่ตรวจรับมอบอาคารและ
สิ่งปลูกสร้าง และมีสิทธิเช่าที่ดินพร้อมอาคารและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นเวลา 30 ปี
ปัจจุบันคณะกรรมการของกระทรวงการคลังยังไม่ได้ตรวจรับมอบอาคารฯ แต่ประการใด
แนววินิจฉัย: กรณีบริษัทฯ ได้ก่อสร้างอาคารลงบนที่ดินของราชพัสดุเพื่อประกอบกิจการโรงแรมโดยต้องยก
กรรมสิทธิ์ในอาคารและสิ่งปลูกสร้างให้กระทรวงการคลังตามสัญญาก่อสร้างอาคารยกกรรมสิทธิ์ให้
กระทรวงการคลัง บริษัทฯ มีสิทธินำภาษีซื้ออันเกิดจากการก่อสร้างไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณ
ภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ดังนี้
1. หากกรรมสิทธิ์ในอาคารและสิ่งปลูกสร้างตกเป็นของกระทรวงการคลังในทันที่ที่เสร็จสม
บูรณ์ บริษัทฯ ไม่มีสิทธินำภาษีซื้อทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการก่อสร้างไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณ
ภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ทั้งนี้ ตามข้อ 3 ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.90/2542 ฯ ลงวันที่ 29 ตุลาคม
พ.ศ. 2542
2. หากกรรมสิทธิ์ในอาคารและสิ่งปลูกสร้างยังไม่ได้ตกเป็นของกระทรวงการคลังในทันที่ที่
ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ บริษัทฯ มีสิทธินำภาษีซื้ออันเกิดจากการก่อสร้างอาคารไปหักออกจากภาษีขายใน
การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ เว้นแต่คณะกรรมการของกระทรวงการคลังได้ตรวจรับมอบอาคารและ
สิ่งปลูกสร้าง และกรรมสิทธิ์ในอาคารและสิ่งปลูกสร้างตกเป็นของกระทรวงการคลังภายใน 3 ปีนับแต่
เดือนภาษีที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ ภาษีซื้ออันเกิดจากการก่อสร้างดังกล่าวย่อมเป็นภาษีซื้อต้องห้ามไม่ให้นำ
ไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามข้อ 2(4) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)ฯ ลงวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535
เลขตู้: 66/32525


 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020