เลขที่หนังสือ | : กค 0706/พ./3966 |
วันที่ | : 28 เมษายน 2546 |
เรื่อง | : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเฉลี่ยภาษีซื้อ |
ข้อกฎหมาย | : ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29)ฯ |
ข้อหารือ | : บริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2543 ประกอบกิจการส่งออกยางพาราแท่ง ในช่วงเริ่มต้นของการประกอบกิจการบริษัทฯ ได้ดำเนินการ ก่อสร้างอาคารโรงงานเพื่อใช้เป็นโรงงานผลิตยางแท่งเพื่อส่งออกและมีการซื้อเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์เพื่อติดตั้งในโรงงาน บริษัทฯ ได้ขอคืนภาษีซื้อทั้งหมดเนื่องจากในช่วงแรกบริษัทฯ มีนโยบายที่จะ ผลิตยางแท่งเพื่อส่งออกเพียงอย่างเดียว ต่อมาเมื่อเริ่มผลิตยางแท่งบริษัทฯ มีความจำเป็นทางด้าน การค้าที่จะต้องขายยางแท่งในประเทศให้บริษัท ท. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือด้วยเนื่องจาก บริษัท ท. ไม่ สามารถผลิตยางแท่งส่งให้ลูกค้าในต่างประเทศได้ทันตามสัญญา บริษัทฯ มีรายได้จากการขายยางแท่งใน ประเทศและส่งออกดังนี้ เดือนภาษี ขายในประเทศ อัตราส่วน ส่งออก อัตราส่วน ส.ค.-ธ.ค. 2544 64,730,842.07 49.99 56,934,463.19 50.01 ม.ค.-ส.ค. 2545 79,107,390.59 25.15 235,451,892.34 74.85 เนื่องจากบริษัทฯ ไม่สามารถประมาณการการใช้พื้นที่อาคารที่จะใช้ในการประกอบกิจการ ประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อนำมาหักออกจากภาษีขายได้ เพราะการผลิตยางแท่งเพื่อส่งออกและ เพื่อขายในประเทศจะต้องใช้พื้นที่เดียวกัน ใช้เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน ไม่สามารถแยกกัน ได้อย่างชัดเจน ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ 5 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อ ตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2535 บริษัทฯ จึงขออนุมัติเฉลี่ยภาษีซื้อสำหรับ วัสดุและการก่อสร้างอาคารโรงงานตามสัดส่วนรายได้ย้อนหลังไปถึงวันจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดย บริษัทฯ ยินดีที่จะคืนภาษีมูลค่าเพิ่มส่วนที่เกินตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29)ฯ ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2535 |
แนววินิจฉัย | : ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างอาคารโรงงานและค่าใช้จ่ายในการซื้อเครื่องจักรพร้อมทั้งอุปกรณ์ เครื่องมือต่าง ๆ ของบริษัทฯ เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อใช้ร่วมกันในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยไม่สามารถแยกได้อย่างชัดแจ้งว่าภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เครื่องจักรและอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ เป็นภาษีซื้อของกิจการประเภทใด และในส่วนภาษีซื้อที่เกิดจาก การก่อสร้างอาคารโรงงานนั้น ก็ไม่สามารถประมาณการการใช้พื้นที่อาคารเพื่อใช้ในการประกอบกิจการ ของตนเองซึ่งเป็นกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มได้ จึงให้บริษัทฯ เฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของ รายได้ของแต่ละกิจการ ดังนี้ 1. ในปีที่บริษัทฯ เริ่มประกอบกิจการหรือได้ประกอบกิจการมาแล้ว แต่ยังไม่มีรายได้ ให้ ประมาณการรายได้ของกิจการทั้งสองประเภทของปีที่เริ่มมีรายได้ แล้วเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของ ประมาณการรายได้ดังกล่าว และให้นำภาษีซื้อที่เฉลี่ยได้ตามส่วนของประมาณการรายได้ของกิจการ ประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมาหักออกจากภาษีขาย แต่ภาษีซื้อดังกล่าวจะต้องมีจำนวนไม่เกินกึ่งหนึ่ง ของภาษีซื้อที่นำมาเฉลี่ย 2. สำหรับในปีถัดจากปีที่เริ่มประกอบกิจการและยังไม่มีรายได้ถึงสิ้นปีของปีที่เริ่มมีรายได้ ให้ เฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของประมาณการรายได้เช่นเดียวกับปีที่บริษัทฯ เริ่มประกอบกิจการหรือได้ ประกอบกิจการมาแล้ว แต่ยังไม่มีรายได้ เมื่อสิ้นปีที่เริ่มมีรายได้ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนคำนวณภาษีซื้อที่หักได้จริงตามส่วนของ รายได้ที่เกิดขึ้นจริงของกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และให้ปรับปรุงภาษีซื้อที่ได้นำมาหัก ออกจากภาษีขายแล้ว ปีที่เริ่มมีรายได้ให้หมายถึง ปีแรกที่มีรายได้เกิดขึ้นจริงไม่น้อยกว่า 6 เดือนภาษี 3. สำหรับปีถัดจากปีที่เริ่มมีรายได้เป็นต้นไป ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเฉลี่ยภาษีซื้อ ตามส่วนของรายได้ของปีที่ผ่านมาโดยไม่ต้องปรับปรุงภาษีซื้ออีก ทั้งนี้ตามข้อ 2 และข้อ 7 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29)ฯ ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2535 โดยบริษัทฯ ต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 เพิ่มเติม สำหรับภาษีซื้อส่วนที่ เฉลี่ยได้ตามส่วนของรายได้ของกิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งบริษัทฯ ไม่มีสิทธินำไปหักออกจาก ภาษีขาย แต่บริษัทฯ ได้นำไปหักออกจากภาษีขาย (ภาษีซื้อที่บริษัทฯ ยื่นไว้เกิน) ตามมาตรา 83/4 แห่ง ประมวลรัษฎากร และบริษัทฯ ยังคงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร |
เลขตู้ | : 66/32378 |