เลขที่หนังสือ | : กค 0706/3666 |
วันที่ | : 21 เมษายน 2546 |
เรื่อง | : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบกิจการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 77/2, มาตรา 79/1(2)(ข) |
ข้อหารือ | : สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ได้ดำเนินการตรวจปฏิบัติการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มของนิติบุคคล ต่างประเทศซึ่งให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล โดยปฏิบัติตามคำสั่ง กรมสรรพากร ที่ ป.54/2537 ฯ ลงวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ซึ่งกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยและที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ ประกอบกิจการให้บริการขนส่ง สินค้าระหว่างประเทศโดยเรือเดินทะเล บริษัทสายการเดินเรือจะต้องนำมูลค่าของค่าระวาง ค่าธรรมเนียมและประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนสินค้าออกนอกราชอาณาจักรมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทสายการเดินเรือซึ่งได้ให้บริการรับขนสินค้าทั้งขาเข้าและขาออก สามารถยื่น แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ขอคืนภาษีซื้อของกิจการได้ตามปกติ แต่หากบริษัท สายการเดินเรือซึ่งได้ให้บริการรับขนสินค้าขาเข้าเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีการให้บริการรับขนสินค้า ขาออกเลย ย่อมไม่มีฐานภาษีสำหรับการให้บริการดังกล่าวตามมาตรา 79/1(2)(ข) แห่ง ประมวลรัษฎากร และไม่มีสิทธิจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น บริษัทสายการเดินเรือซึ่งให้บริการรับขน สินค้าขาเข้าเพียงอย่างเดียวดังกล่าวจึงต้องออกจากระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม |
แนววินิจฉัย | : กรณีนิติบุคคลต่างประเทศประกอบกิจการให้บริการรับขนส่งสินค้าระหว่างประเทศโดย เรือเดินทะเล โดยมีการขนส่งสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร การประกอบกิจการดังกล่าวอยู่ในบังคับต้อง เสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการประกอบกิจการรับขน สินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรหรือรับขนสินค้าออกนอกราชอาณาจักรก็ตาม เพียงแต่ในส่วนของฐานภาษีที่ ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ให้นำ เฉพาะมูลค่าของค่าระวาง ค่าธรรมเนียม และประโยชน์อื่นใดที่เรียกเก็บ ไม่ว่าในหรือนอก ราชอาณาจักรก่อนหักรายจ่ายใด ๆ เนื่องในการรับขนสินค้านั้นออกนอกราชอาณาจักรเท่านั้นตามมาตรา 79/1(2)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งข้อกำหนดในเรื่องของฐานภาษีดังกล่าวมิได้ทำให้การ ประกอบกิจการดังกล่าวซึ่งอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนของการรับขนสินค้าเข้ามาใน ราชอาณาจักรต้องเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด และเมื่อนิติบุคคลต่างประเทศดังกล่าวมีภาษีซื้อที่เกิดขึ้น เนื่องจากการประกอบกิจการ ไม่ว่าจะเป็นการรับขนสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรหรือออกนอก ราชอาณาจักร และไม่เข้าลักษณะเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร ก็ย่อม มีสิทธินำไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือขอคืนภาษีได้ ตามมาตรา 82/3 แห่ง ประมวลรัษฎากร |
เลขตู้ | : 66/32375 |