เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0706/4008
วันที่: 29 เมษายน 2546
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีค่าธรรมเนียมการเป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้า
ข้อกฎหมาย: มาตรา 65 ตรี (19)
ข้อหารือ: บริษัทฯ จ่ายเงินค่าธรรมเนียมการจัดจำหน่ายให้แก่บริษัท ฟ. และบริษัท ม.บริษัทฯ จะนำ
เงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิได้หรือไม่ โดยมี
ข้อเท็จจริงว่าบริษัทฯ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนจำหน่ายอะไหล่รถยนต์จากบริษัท ฟ. และบริษัท ม. โดย
มีเงื่อนไขในการเป็นตัวแทนจำหน่าย คือ บริษัทฯ จำหน่ายอะไหล่รถยนต์ให้เฉพาะดีลเลอร์รถยนต์ และ
ผู้จำหน่ายอะไหล่ทั่วไปที่มีสัญญาข้อตกลงกับบริษัท ฟ. และ ม. เท่านั้น และบริษัท ฟ. และบริษัท ม. จะ
มีส่วนร่วมในการกำหนดราคาจำหน่ายอะไหล่รถยนต์และกำหนดปริมาณอะไหล่รถยนต์แต่ละรุ่นที่บริษัท
ทั้งสองจำหน่ายในประเทศไทย ด้วยข้อจำกัดตามเงื่อนไขดังกล่าวทำให้การคำนวณรายได้จากการเป็น
ตัวแทนจำหน่ายมีวิธีการคำนวณดังนี้
รายได้จากการขายอะไหล่ XX
หัก ต้นทุนสินค้า XX
ค่าใช้จ่ายจริงที่ตกลงกัน XX
ค่าตอบแทนการเป็นตัวแทนให้บริษัทฯ XX XX
รายได้ส่วนเกิน (ส่วนขาด) XX
จากการคำนวณรายได้หักต้นทุนที่เกี่ยวข้องที่ตกลงกันและหักค่าตอบแทนการเป็นตัวแทนให้บริษัทฯ
แล้ว หากมีรายได้ส่วนเกินบริษัทฯ ต้องจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวคืนแก่บริษัท ฟ. และบริษัท ม. โดยบริษัทฯ
สามารถลงเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและบริษัททั้งสองต้องรับรู้เป็น
รายได้ แต่ในทางกลับกันหากมีส่วนขาดบริษัท ฟ. และ บริษัท ม. จะต้องเป็นผู้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าว
ให้แก่บริษัทฯ ซึ่งบริษัทฯ ต้องรับรู้เป็นรายได้ตามเกณฑ์สิทธิส่วนบริษัททั้งสองสามารถถือเป็นรายจ่ายได้
การคำนวณรายได้ข้างต้นต้องทำการคำนวณทุกเดือนโดยไม่ต้องรอผลการดำเนินงานสิ้นปี และจะไม่มีการ
หักค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน ค่าดอกเบี้ยรับ และค่าดอกเบี้ยจ่ายของกิจการแต่อย่างใด ดังนั้น บริษัทฯ
เข้าใจว่าเงินรายได้ส่วนเกินที่บริษัทฯ ต้องจ่ายคืนให้บริษัททั้งสอง มิได้เป็นรายจ่ายที่กำหนดจ่ายจากผลกำไร
ที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 65 ตรี (19) แห่งประมวลรัษฎากร
แนววินิจฉัย: กรณีบริษัทฯ คำนวณรายได้จากการเป็นตัวแทนจัดจำหน่ายอะไหล่รถยนต์ โดยคำนวณจาก
รายได้จากการขายอะไหล่หักด้วยต้นทุนสินค้า ค่าใช้จ่ายจริงที่ตกลงกัน (ค่าใช้จ่ายโดยตรงในการบริหาร
งาน เช่น เงินเดือน ค่าใช้จ่ายสำนักงานของแผนกจัดจำหน่ายอะไหล่รถยนต์ เป็นต้น) และค่าตอบแทน
การเป็นตัวแทนให้บริษัททั้งสอง และต้องคำนวณทุกเดือนไม่ต้องรอถึงสิ้นปี ซึ่งผลคำนวณอาจมีรายได้ส่วน
เกิน หรือรายได้ส่วนขาด หากมีรายได้ส่วนเกินบริษัทฯ ต้องจ่ายคืนให้บริษัททั้งสอง รายได้ส่วนเกิน
ดังกล่าวจึงมิได้กำหนดจ่ายจากผลกำไรที่ได้เมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี บริษัทฯ จึงนำไปหักเป็น
รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (19) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 66/32394


 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020