เลขที่หนังสือ | : กค 0706/3186 |
วันที่ | : 1 เมษายน 2546 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีค่าทดแทนจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 65 |
ข้อหารือ | : บริษัทฯ กับพวกได้ซื้อที่ดินไม่มีสิ่งปลูกสร้างเลขที่ 00001 เลขที่ 00002 และเลขที่ 00003 อำเภอมีนบุรี กรุงเทพมหานคร ต่อมาที่ดินแปลงดังกล่าวได้ถูกเวนคืนจากกองรังวัดและ จัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร และได้รับค่าทดแทน ดังนี้ เนื้อที่ดินที่ถูกเวน เนื้อที่ดินที่ถูกเวน ผลต่าง คืนโดยประมาณ คืนจริง โฉนดเลขที่ 37101 200 207 (7) โฉนดเลขที่ 37100 10 6 4 โฉนดเลขที่ 22 200 236 (36) รวม 410 449 (39) ค่าทดแทนตารางวาละ 20,000 บาท ทั้ง 3 แปลง 8,200,000 8,980,000 (780,000) เป็นเงิน หัก ได้รับค่าทดแทนแล้ว ตุลาคม 2540 ได้รับ 75% = 6,150,000 กันยายน 2542 ได้รับ 25% = 1,970,000 8,120,000 8,120,000 คงเหลือค้างชำระ (1) 80,000 (2) 860,000 (780,000) เนื่องจากโฉนดเลขที่ 00002 เนื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนจริงต่ำกว่าที่ประมาณไว้ 4 ตารางวา ดังนั้น กรุงเทพมหานคร จึงไม่จ่ายชำระให้ ส่วนโฉนดเลขที่ 00001 และเลขที่ 00003 เนื้อที่ดินที่ถูก เวนคืนจริงสูงกว่าที่ประมาณไว้รวม 42 ตารางวา คิดเป็นเงิน 860,000 บาท กรุงเทพมหานครแจ้งว่า เนื่องจากงบประมาณหมดจึงต้องรองบประมาณใหม่ บริษัทฯ กับพวกได้ส่งมอบโฉนดที่ดินให้กับ กรุงเทพมหานคร เพื่อดำเนินการจดทะเบียนในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540 และกรุงเทพมหานครได้ ดำเนินการจดทะเบียนโอนเสร็จในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2541 บริษัทฯ กับพวกจึงหารือว่า 1. บริษัทฯ กับพวกได้รับรู้รายได้ค่าเวนคืนตามจำนวนที่กรุงเทพมหานครประมาณไว้กล่าวคือ 8,200,000 บาท ในรอบบัญชีปี 2540 เนื่องจากบริษัทฯ เข้าใจว่ากรุงเทพมหานครจะดำเนินการ จดทะเบียนโอนเสร็จสิ้นภายในปี 2540 ถูกต้องหรือไม่ 2. บริษัทฯ กับพวกจะรับรู้รายได้ค่าเวนคืนสำหรับที่ดินที่ถูกเวนคืนจริงสูงกว่าที่ประมาณไว้ ต่อเมื่อบริษัทฯ ได้รับชำระค่าทดแทนจากกรุงเทพมหานครถูกต้องหรือไม่ 3. บริษัทฯ กับพวกได้ยื่นเรื่องอุทธรณ์เรียกเงินค่าทดแทนการเวนคืนที่ดินเพิ่มเติม ซึ่งบริษัทฯ ได้รับค่าทดแทนในการเวนคืนต่ำกว่าที่ดินแปลงอื่นที่ถูกเวนคืนในบริเวณใกล้เคียงกันต่อกระทรวงมหาดไทย บริษัทฯ จะต้องรับรู้รายได้ค่าทดแทนส่วนเพิ่มเป็นรายได้ต่อเมื่อได้รับชำระค่าทดแทนถูกต้องหรือไม่ |
แนววินิจฉัย | : การรับรู้รายได้เพื่อประโยชน์ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลจะต้องบันทึกรับรู้รายได้ตาม เกณฑ์สิทธิ ตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร กล่าวคือ จะต้องนำรายได้ที่เกิดขึ้นใน รอบระยะเวลาบัญชีใด แม้จะยังมิได้รับชำระในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นมารวมคำนวณเป็นรายได้ใน รอบระยะเวลาบัญชีนั้น กรณีบริษัทฯ กับพวกมีสิทธิได้รับค่าเวนคืนและค่าทดแทนที่กรุงเทพมหานครประมาณ ไว้ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2540 บริษัทฯ กับพวกจะต้องนำรายได้ดังกล่าวไปรวมคำนวณเป็นรายได้ใน รอบระยะเวลาบัญชีปี 2540 ต่อมาปรากฏว่ากรุงเทพมหานครเวนคืนที่ดินตามโฉนดดังกล่าวเป็นจำนวน เนื้อที่มากกว่าที่ประมาณการไว้และจ่ายค่าเวนคืนสูงกว่าที่ประมาณไว้ ถ้ากรุงเทพมหานครแจ้งว่าบริษัทฯ กับพวกมีสิทธิรับค่าเวนคืนที่เพิ่มขึ้นในรอบระยะเวลาใดก็ต้องนำไปรวมคำนวณเป็นรายได้ใน รอบระยะเวลาบัญชีนั้น และถ้ามีการยื่นอุทธรณ์เรียกเงินค่าตอบแทนการเวนคืนที่ดินเพิ่มเติมและผล การอุทธรณ์ปรากฏว่าได้รับค่าทดแทนดังกล่าวเพิ่มตามที่อุทธรณ์ก็ต้องนำค่าทดแทนส่วนที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว มารวมคำนวณรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่มีสิทธิได้รับค่าทดแทนแม้จะมิได้รับชำระใน รอบระยะเวลาบัญชีนั้น |
เลขตู้ | : 66/32359 |