เลขที่หนังสือ | : กค 0706(กม.03)/224 |
วันที่ | : 19 กุมภาพันธ์ 2546 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิของธนาคารพาณิชย์ที่ประกอบกิจการวิเทศธนกิจ |
ข้อกฎหมาย | : พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 260) พ.ศ. 2535 |
ข้อหารือ | : ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของธนาคารพาณิชย์ที่ประกอบกิจการ วิเทศธนกิจ กรณีที่ดำเนินธุรกรรมที่เข้าข่าย "กิจการวิเทศธนกิจ" และธุรกรรมที่ไม่เข้าข่าย "กิจการ วิเทศธนกิจ" มีประเด็นดังต่อไปนี้ 1. วิธีการในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของ ธนาคารพาณิชย์ที่ประกอบกิจการวิเทศธนกิจมีวิธีการคำนวณอย่างไร 2. การคำนวณผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปัจจุบัน มีวิธีการ คำนวณอย่างไร 3. การยกเว้นภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการ ยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 308) พ.ศ. 2540 ที่ยกเว้นภาษีเงินได้หากกิจการวิเทศธนกิจต้องการจำหน่าย เงินกำไรหรือเงินประเภทอื่นใดที่กันไว้จากกำไรหรือที่ถือได้ว่าเป็นเงินกำไรที่ผู้ประกอบการวิเทศธนกิจ จำหน่ายออกไปจากประเทศไทยตามมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ เฉพาะที่ได้จากกิจการ วิเทศธนกิจเพื่อการกู้ยืมในต่างประเทศ ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประกอบกิจการ วิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2535 ดังนั้น กำไรที่ถือได้ว่าจำหน่าย ออกไปและต้องเสียภาษีจึงเป็นกำไรที่ไม่รวมกำไรจากกิจการวิเทศธนกิจเพื่อการกู้ยืมในต่างประเทศ และนำกำไรที่เหลืออยู่หลังจากหักผลขาดทุนของอีกธุรกรรมหนึ่งได้ ใช่หรือไม่ |
แนววินิจฉัย | : 1. กรณีธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ต้องแยกการคำนวณกำไรสุทธิระหว่างกิจการธนาคารปกติกับ กิจการธนาคารที่เป็นวิเทศธนกิจ ตามข้อ 2 ของประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2543 ประกอบกับข้อ 2 ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประกอบกิจการวิเทศธนกิจของ ธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2535 2. หลักกฎหมายตามประมวลรัษฎากรที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณกำไรสุทธิของธนาคารพาณิชย์ที่ ประกอบกิจการวิเทศธนกิจ สรุปได้ดังนี้ 2.1 ธนาคารพาณิชย์มีหน้าที่ต้องคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 และมาตรา 66 แห่งประมวลรัษฎากร และต้องเสียภาษีในอัตราที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีเงินได้ 2.2 ธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการวิเทศธนกิจมีสิทธิได้รับการ ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลลงเหลือร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิ สำหรับการประกอบกิจการ "วิเทศธนกิจ" ตามข้อ 1 ของประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ ลงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2535 ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความใน ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 260) พ.ศ. 2535 ประกอบกับ ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ฯ (ฉบับที่ 47) ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2536 ดังนั้น กิจการใดของธนาคารพาณิชย์ที่ประกอบกิจการวิเทศธนกิจที่ไม่อยู่ในคำนิยาม ของ "กิจการวิเทศธนกิจ" ตามข้อ 1 ของประกาศกระทรวงการคลังฯ ก็จะไม่ได้รับการลดอัตราภาษี เงินได้นิติบุคคล และต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 30 ของกำไรสุทธิตามปกติ 2.3 ในกรณีธนาคารพาณิชย์ที่ประกอบกิจการวิเทศธนกิจ ประกอบกิจการทั้งที่ได้รับการ ลดอัตราภาษีเงินได้จากกำไรสุทธิเหลือร้อยละ 10 และกิจการที่ต้องเสียภาษีจากกำไรสุทธิในอัตรา ร้อยละ 30 ธนาคารฯ ต้องคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของแต่ละกิจการแยกต่างหากจากกัน และ ห้ามมิให้นำผลขาดทุนที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีของกิจการหนึ่งไปหักออกจากกำไรสุทธิของอีกกิจการ หนึ่ง ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 260) พ.ศ. 2535 ประกอบกับข้อ 1(3) ของ ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ฯ (ฉบับที่ 47) ลงวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2536 ประกอบกับ 3. กรณีการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น ธนาคารพาณิชย์ที่ ประกอบกิจการวิเทศธนกิจทั้งวิเทศธนกิจกรุงเทพ (BIBF) และวิเทศธนกิจต่างจังหวัด (PIBF) ต้องยื่น แบบแสดงรายการตามอัตราภาษีเงินได้ กล่าวคือต้องยื่นแบบแสดงรายการ (ภ.ง.ด.50) สำหรับกิจการ ที่ต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10 หนึ่งฉบับ และสำหรับกิจการที่ต้องเสียภาษีร้อยละ 30 อีกหนึ่งฉบับ ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.62/2539 ฯ ลงวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2539 4. กรณีการยกเว้นภาษีสำหรับการจำหน่ายกำไรสำหรับกำไรที่ได้จากการประกอบกิจการ วิเทศธนกิจเพื่อการให้กู้ยืมในต่างประเทศ (out-out) ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 308) พ.ศ. 2540 นั้น ต้องเป็นกำไรที่ได้จากธุรกรรม out-out เท่านั้น |
เลขตู้ | : 66/32330 |