เลขที่หนังสือ | : กค 0706(กม.10)/126 |
วันที่ | : 29 มกราคม 2546 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการพิจารณาเหตุอันสมควรและการคิดเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 67 ตรี (1), มาตรา 67 ทวิ (1) |
ข้อหารือ | : 1. กรณีบริษัทยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 จำนวนสองฉบับ โดยฉบับแรกยื่นภายในกำหนดเวลา และ ฉบับที่สอง ยื่นเกินกำหนดเวลา ในการเปรียบเทียบแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 ตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ได้นำแบบที่ยื่นภายในกำหนดเวลาเพียงฉบับเดียวมา เปรียบเทียบกับแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.50 เพื่อคำนวณเงินเพิ่มที่จะต้องรับผิดร้อยละ 20 ของภาษีที่ ชำระขาด กรณีดังกล่าวถูกต้องหรือไม่ 2. ในการประมาณการกำไรสุทธิ ตามมาตรา 67 ทวิ (1) แห่งประมวลรัษฎากร หากจะ ต้องนำแบบ ภ.ง.ด.51 ฉบับที่สอง ซึ่งยื่นเกินกำหนดเวลามาพิจารณาด้วย กรณีดังต่อไปนี้ ถูกต้องหรือไม่ 2.1 กรณีบริษัทฯ ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ฉบับที่สอง เกินกำหนดเวลา โดยแสดง ประมาณการกำไรสุทธิขาดไปไม่เกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิตามแบบ ภ.ง.ด.50 บริษัทฯ จะต้อง รับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของภาษีที่ชำระเพิ่มเติม ตามมาตรา 67 ตรี วรรคหนึ่ง แห่ง ประมวลรัษฎากร เนื่องจากถือว่าบริษัทฯ ไม่ยื่นรายการและชำระภาษีตามมาตรา 67 ทวิ (1) แห่ง ประมวลรัษฎากร หรือไม่ 2.2 กรณีบริษัทฯ ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ฉบับที่สอง เกินกำหนดเวลา และยังแสดง ประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 บริษัทจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 กรณีไม่ยื่นแบบ ภายในกำหนดเวลาด้วยหรือไม่ |
แนววินิจฉัย | : 1. กรณีตาม 1. กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้ยื่นรายการตามแบบภ.ง.ด.51 โดย การประมาณการกำไรสุทธิตามมาตรา 67 ทวิ (1) แห่งประมวลรัษฎากร ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 จำนวนสองฉบับ ฉบับแรกยื่นภายในกำหนดเวลาและฉบับที่สองยื่นเกินกำหนดเวลา นั้น การคำนวณเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ได้กำหนดไว้ว่า กรณีแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ ซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจาก กิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี โดยไม่มีเหตุอันสมควร บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสีย เงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 67 ทวิ (1) แห่งประมวลรัษฎากร หรือของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชำระขาด แล้วแต่ กรณี ดังนั้น กรณีที่จะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ดังกล่าวนั้น จะต้องพิจารณาเปรียบเทียบ การยื่นรายการประมาณการกำไรสุทธิตามแบบ ภ.ง.ด.51 กับกำไรสุทธิจากกิจการหรือเนื่องจากกิจการ ที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี ที่ต้องยื่นรายการตามแบบ ภ.ง.ด.50 แต่เมื่อมีการยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 สองฉบับ โดยฉบับแรกยื่นภายในกำหนดเวลา และฉบับที่สองยื่นเกินกำหนดเวลา การเปรียบเทียบ ดังกล่าวต้องนำแบบ ภ.ง.ด.51 ทั้งสองฉบับมาพิจารณาด้วย ทั้งนี้ การยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 เพิ่มเติมเป็น ครั้งที่สองเป็นสิทธิที่ผู้เสียภาษีจะกระทำได้ ซึ่งไม่มีข้อกำหนดต้องห้ามไว้ในประมวลรัษฎากร โดยการยื่น แบบ ภ.ง.ด.51 เพิ่มเติมเกินกำหนดเวลาถือว่าผู้เสียภาษีไม่ยื่นรายการและชำระภาษีตามมาตรา 67 ทวิ (1) แห่งประมวลรัษฎากร จึงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเติมนั้น ตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร 2. กรณีตาม 2.1 กรณีผู้เสียภาษียื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ฉบับที่สองเกินกำหนดเวลา และเมื่อนำ มารวมพิจารณาเปรียบเทียบกับแบบ ภ.ง.ด.50 แล้ว ปรากฏว่าประมาณการกำไรสุทธิขาดไปไม่เกิน ร้อยละ 25 นั้น ถือว่าผู้เสียภาษีไม่ยื่นรายการและชำระภาษีตามมาตรา 67 ทวิ (1) แห่ง ประมวลรัษฎากร จึงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเติมตามที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ฉบับที่สอง ตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร 3. กรณีตาม 2.2 กรณีผู้เสียภาษียื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ฉบับที่สองเกินกำหนดเวลาและเมื่อนำ มารวมพิจารณาเปรียบเทียบกับแบบ ภ.ง.ด.50 แล้ว ปรากฏว่าประมาณการกำไรสุทธิยังขาดไปเกิน ร้อยละ 25 นั้น ผู้เสียภาษีต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของภาษีที่ต้องชำระเพิ่มเติมตามที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ฉบับที่สอง และต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของภาษีที่ชำระขาดไปจากที่ได้นำแบบ ภ.ง.ด.51 ทั้งสองฉบับมาพิจารณาเปรียบเทียบกับแบบ ภ.ง.ด.50 แล้วปรากฏว่าประมาณการกำไรสุทธิ ยังขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการ |
เลขตู้ | : 66/32246 |