เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0706/พ.45
วันที่: 6 มกราคม 2546
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีรายจ่ายค่าก่อสร้างระบบไฟฟ้าใหม่
ข้อกฎหมาย: มาตรา 65 ตรี (5), มาตรา 77/2, มาตรา 82/5, มาตรา 89(3)(4), มาตรา 89/1
ข้อหารือ: บริษัทฯ หารือ ดังนี้
1. กรณีบริษัทฯ ได้จ่ายเงินให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นค่าใช้จ่ายใน
การก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้าใหม่ตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กฟผ. จึง
ไม่มีหน้าที่ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากบริษัทฯ ดังนั้น เมื่อบริษัทฯ ได้นำใบกำกับภาษีดังกล่าวไปถือ
เป็นภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทฯ ต้องรับผิดชำระภาษีเพิ่มเติมพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม
แต่โดยที่การกระทำผิดดังกล่าวกรมสรรพากรเห็นว่าบริษัทฯ มิได้มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีแต่เป็นการกระทำ
โดยสำคัญผิด จึงงดเบี้ยปรับให้ ส่วนเงินเพิ่มกรมสรรพากรไม่มีอำนาจงดหรือลดให้แต่ประการใด นั้น
เนื่องจากตามข้อเท็จจริง บริษัทฯ ได้รับใบกำกับภาษีที่ กฟผ. ออกให้จำนวน 2 ฉบับ คือ
(1) ฉบับลงวันที่ 30 กันยายน 2540 จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม 13,272,727.27 บาท
บริษัทฯ ได้นำไปรวมคำนวณในการยื่นแบบแสดงรายการเพิ่มเติมพร้อมกับภาษีซื้ออื่นๆ เมื่อวันที่ 17
พฤศจิกายน 2540 ขอคืนภาษีเป็นจำนวนเงิน 13,574,964.52 บาท โดยบริษัทฯ ได้รับคืนเงินภาษี
ดังกล่าวแล้ว
(2) ฉบับลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2541 จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม 13,272,727.27 บาท
บริษัทฯ ได้นำไปรวมคำนวณในการยื่นแบบแสดงรายการปกติ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2541 ขอคืนภาษี
เป็นจำนวนเงิน 17,389,366.05 บาท โดยบริษัทฯ ได้รับคืนเงินภาษีดังกล่าวแล้ว
เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2544 บริษัทฯ ได้ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ.30 เพิ่มเติม (ปรับปรุง)
สำหรับเดือนภาษีกันยายน 2540 และ เดือนภาษีพฤษภาคม 2541 โดยนำส่งคืนภาษีซื้อตาม
ใบกำกับภาษีทั้งสอง คงค้างหนี้ภาษีในส่วนที่เป็นเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ตามใบแจ้งการค้างชำระภาษีอากร
บ.ช.35 ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2544 เป็นจำนวนเงิน 22,032,727.34 บาท ซึ่งบริษัทฯเห็นว่า กรณี
ดังกล่าวบริษัทฯ ไม่ต้องรับผิดชำระเงินเพิ่ม เนื่องจากไม่มีภาษีที่ต้องชำระแต่เป็นกรณีที่บริษัทฯ นำส่งภาษี
ที่ขอคืนไว้เกินไปจึงไม่มีภาระต้องเสียเงินเพิ่มตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.81/2542 ฯ ลงวันที่ 24
มกราคม พ.ศ. 2542
2. ค่าใช้จ่ายในส่วนระบบส่งไฟฟ้าใหม่ บริษัทฯ ได้บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายรอการตัดบัญชี ซึ่งถือ
เป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน บริษัทฯ จะนำมาตัดจำหน่ายเป็นค่าใช้จ่ายทุก ๆ ปี ตามอายุ
การใช้งานหรือตามอายุการให้ประโยชน์ เมื่อบริษัทฯ ได้เริ่มดำเนินงานและเกิดรายได้จากการผลิต
กระแสไฟฟ้าให้แก่ กฟผ. แล้วถูกต้องหรือไม่
3. สำนักงานสรรพากรภาคเห็นว่า
3.1 การคำนวณเบี้ยปรับและเงินเพิ่มของบริษัทฯ เป็น ดังนี้
เดือนภาษี กันยายน 2540 แบบ ภ.พ. 30 ความถูกต้อง ผลต่าง
ยื่นปกติ ยื่นเพิ่มเติม รวม ความถูกต้อง ผลต่าง
ภาษีขาย 108.68 - 108.68 108.68 -
ภาษีซื้อ 62,100.81 13,574,964.52 13,637,065.33 364,338.06(13,272,727.27)
ภาษีที่ต้องชำระ - - - - -
ภาษีที่ชำระไว้เกินสุทธิ(61,992.13)(13,574,964.52)(13,636,956.65)364,229.38(13,272,727.27)
เงินเพิ่มตามมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร - ไม่มี
เบี้ยปรับตามมาตรา 89(3) แห่งประมวลรัษฎากร - ไม่มี
เบี้ยปรับตามมาตรา 89(4) แห่งประมวลรัษฎากร ภาษีซื้อเกินจำนวน
13,272,727.77 บาท
เดือนภาษี พฤษภาคม 2541 แบบ ภ.พ. 30 ความถูกต้อง ผลต่าง
ภาษีขาย 618.24 618.24 -
ภาษีซื้อ 17,389,984.29 4,117,257.02 (13,272,727.27)
ภาษีที่ต้องชำระ - - -
ภาษีที่ชำระไว้เกินสุทธิ (17,389,366.05) (4,116,638.78) (13,272,727.27)
เงินเพิ่มตามมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร - ไม่มี
เบี้ยปรับตามมาตรา 89(3) แห่งประมวลรัษฎากร - ไม่มี
เบี้ยปรับตามมาตรา 89(4) แห่งประมวลรัษฎากร ภาษีซื้อเกินจำนวน
13,272,727.27 บาท
จากตารางในเดือนภาษีกันยายน 2540 และเดือนภาษีพฤษภาคม 2541 บริษัทฯ มียอดภาษี
ชำระไว้เกินเป็นจำนวน 364,229.38 บาท และ 4,116,638.78 บาท ตามลำดับ ดังนั้น แม้ว่าบริษัทฯ
จะได้แจ้งยอดซื้อไว้เกินไปเป็นจำนวน 13,272,727.27 บาท และ 13,272,727.27 บาท
ตามลำดับ กรณีดังกล่าวบริษัทฯ ไม่มียอดภาษีที่นำส่งขาดแต่อย่างใด ทำให้บริษัทฯ ไม่ต้องชำระเงินเพิ่ม
ตามมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร แต่บริษัทฯ ต้องชำระเบี้ยปรับ 1 เท่าของภาษีซื้อเกินตาม
มาตรา 89(4) แห่งประมวลรัษฎากร และเนื่องจากบริษัทฯ ได้รับการงดเบี้ยปรับ
3.2 กรณีบริษัทฯ จ่ายค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้าใหม่ (NTF) ถือเป็น
รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนต้องห้ามถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี
(5) แห่งประมวลรัษฎากร
แนววินิจฉัย: 1. กรณีบริษัทฯ ได้ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยตามสัญญาเมื่อ
วันที่ 30 มิถุนายน 2540 โดยตามสัญญาบริษัทฯ ต้องจ่ายเงินให้กับ กฟผ. เป็นจำนวน 730 ล้านบาท
เพื่อให้ กฟผ.ดำเนินการก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้าใหม่ (NEW TRANSMISSION FACILITIES-NTF) เพื่อ
เชื่อมโยงกับระบบส่งไฟฟ้าของ กฟผ. เงินที่ กฟผ. ได้รับตามสัญญาดังกล่าวไม่อยู่ในบังคับต้องเสีย
ภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร แต่เนื่องจาก กฟผ. ได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม
และออกใบกำกับภาษีให้กับบริษัทฯ สำหรับการจ่ายเงินตามสัญญาดังกล่าว บริษัทฯ ได้นำใบกำกับภาษี
ดังกล่าวไปเป็นภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5(5) แห่ง
ประมวลรัษฎากร ดังนั้น บริษัทฯ จึงต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 เพิ่มเติมพร้อมทั้งเบี้ยปรับตามมาตรา
89(3)(4) แห่งประมวลรัษฎากร และเงินเพิ่มตามมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากบริษัทฯ
นำใบกำกับภาษีดังกล่าวไปใช้โดยความสำคัญผิด และไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี กรมสรรพากรจึงงด
เบี้ยปรับดังกล่าวให้แก่บริษัทฯ ตามข้อ 11 แห่งคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.81/2542 ฯ ลงวันที่ 9
กรกฎาคม พ.ศ. 2542 ส่วนเงินเพิ่มกรมสรรพากรไม่มีอำนาจงดหรือลดให้แต่ประการใด
2. ตามข้อเท็จจริง การยื่นแบบ ภ.พ.30 ทั้งยื่นปกติและยื่นเพิ่มเติม ของเดือนภาษีกันยายน
2540 บริษัทฯ ได้ยื่นภาษีซื้อเกินไปเป็นจำนวน 13,272,727.27 บาท แต่แม้บริษัทฯ จะได้ยื่น
ภาษีซื้อเกินไปก็ตาม กรณีดังกล่าวบริษัทฯ ยังคงไม่มียอดภาษีที่นำส่งขาดไปทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทฯ ยังคงมี
ภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายอยู่เป็นจำนวน 364,229.38 บาท และการยื่นแบบ ภ.พ. 30 ของเดือนภาษี
พฤษภาคม 2541 บริษัทฯ ได้ยื่นภาษีซื้อเกินไปเป็นจำนวน 13,272,727.27 บาท แต่แม้บริษัทฯ จะได้
ยื่นภาษีซื้อเกินไปก็ตาม กรณีดังกล่าวบริษัทฯ ยังคงไม่มียอดภาษีที่นำส่งขาดไป ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทฯ
ยังคงมีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายอยู่เป็นจำนวน 4,116,638.78 บาท กรณีดังกล่าว บริษัทฯ ไม่ต้อง
ชำระเงินเพิ่มตามมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากรแต่ประการใด
3. กรณีบริษัทฯ ได้จ่ายค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้าใหม่ (NTF) ให้แก่ กฟผ.
ตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ฉบับลงวันที่ 30 มิถุนายน 2540 เพื่อให้ กฟผ. นำไปก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้าเพื่อ
ใช้ในกิจการซื้อขาย ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน ต้องห้ามมิให้ถือเป็น
รายจ่ายทั้งจำนวนในรอบระยะเวลาบัญชีที่จ่ายตามมาตรา 65 ตรี(5) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 66/32169

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020