เลขที่หนังสือ | : กค 0706/520 |
วันที่ | : 17 มกราคม 2546 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินเป็นกรณีพิเศษ |
ข้อกฎหมาย | : พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 |
ข้อหารือ | : 1. บริษัท ก. ได้ซื้อที่ดินพร้อมอาคาร 1 ห้อง เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2545 เพื่อใช้เป็น สำนักงานในราคา 470,000 บาท บริษัทฯ มีการจ้างแรงงานไม่ถึงสองร้อยคน บริษัทฯ มีสิทธิหัก ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาอาคารได้ในอัตราร้อยละ 5 หรือเกินกว่าอัตราร้อยละ 5 ในบางปี แต่ จำนวนปีอายุการใช้ของทรัพย์สินเพื่อการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาต้องไม่น้อยกว่า 20 ปี ตาม มาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 ใช่หรือไม่ 2. บริษัทฯ เข้าใจว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสินทรัพย์ถาวรซึ่งไม่รวมที่ดินเกินสอง ร้อยล้านบาท และมีการจ้างแรงงานเกินสองร้อยคน มีสิทธินำมูลค่าของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ของคอมพิวเตอร์ที่บริษัทฯ ซื้อหรือได้รับโอนกรรมสิทธิ์เพื่อมีไว้ในการประกอบกิจการของตนเองมาหัก ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้ภายในสามรอบระยะเวลาบัญชีนับแต่วันที่ได้ทรัพย์สินมา ตามมาตรา 4 จัตวา (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 395) พ.ศ. 2545 หรือกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรซึ่งไม่รวมที่ดินเกินสองร้อยล้านบาท แต่มีการจ้างแรงงานไม่เกินสองร้อยคน หรือมี มูลค่าสินทรัพย์ถาวรซึ่งไม่รวมที่ดินไม่เกินสองร้อยล้านบาท แต่มีการจ้างแรงงานเกินสองร้อยคน มีสิทธินำ มูลค่าของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์มาหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้เป็นกรณี พิเศษตามมาตรา 4 จัตวา (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับดังกล่าว ใช่หรือไม่ 3. กรณีบริษัทฯ ใช้อาคารตึกแถวชั้นบนเป็นสำนักงานและชั้นล่างเป็นโรงงานบริษัทฯ มีสิทธินำ มูลค่าอาคารตึกแถวทั้งหมดหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้เป็นกรณีพิเศษตามมาตรา 4 เบญจ แห่ง พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 395) พ.ศ. 2545 ใช่หรือไม่ 4. กรณีบริษัทฯ ซื้ออาคารพร้อมที่ดินเป็นการตกลงราคาเหมารวม ไม่ได้แยกราคาอาคารออก และไม่สามารถคำนวณราคาค่าก่อสร้างได้ เนื่องจากปลูกสร้างมานานแล้ว บริษัทฯ จะใช้ราคาประเมินฯ ที่ดินของเจ้าพนักงานที่ดินมาหักออกจากราคาเหมารวม ส่วนต่างถือเป็นราคาอาคาร ได้หรือไม่ 5. บริษัทฯ มีโครงการจัดตั้งโรงงานเพื่อผลิต ผสมหรือบรรจุอาหารสัตว์ และบริษัทฯ ได้ซื้อ หรือก่อสร้างอาคารเพื่อเป็นโกดังเก็บสินค้า บริษัทฯ มีสิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาอาคารโกดัง เป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรา 4 เบญจ แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 395) พ.ศ. 2545 หรือไม่ |
แนววินิจฉัย | : 1. บริษัทฯ มีสิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาอาคารตามมาตรา 4(1) แห่ง พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 ในอัตราร้อยละ 5 ของมูลค่าต้นทุนอาคาร ตามหลักการ บัญชีที่รับรองทั่วไป 2.บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสินทรัพย์ถาวรซึ่งไม่รวมที่ดินไม่เกินสองร้อยล้านบาท และมี การจ้างแรงงานไม่เกินสองร้อยคน มีสิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้น สำหรับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ซื้อหรือได้รับโอนกรรมสิทธิ์เพื่อมีไว้ในการประกอบกิจการของตนเองในวันที่ได้ รับทรัพย์สินนั้นมาในอัตราร้อยละ 40 ของมูลค่าต้นทุน สำหรับมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือให้หักภายในสาม รอบระยะเวลาบัญชีนับแต่วันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา ในกรณีที่รอบระยะเวลาบัญชีใดไม่เต็มสิบสองเดือนให้ เฉลี่ยตามส่วนสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยจะเลือกใช้วิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไปวิธีใดก็ได้ตาม มาตรา 4 จัตวา (2) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 สำหรับกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไปที่มีสินทรัพย์ถาวรหรือมีการจ้างแรงงานไม่เป็น ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดข้างต้น มีสิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินดังกล่าวได้ในอัตราไม่เกิน ร้อยละ 20 ของมูลค่าต้นทุนตามมาตรา 4(5) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 หรือ จะใช้สิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาภายในสามรอบระยะเวลาบัญชีนับแต่วันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา ใน กรณีที่รอบระยะเวลาบัญชีใดไม่เต็มสิบสองเดือนให้เฉลี่ย ตามส่วนสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยจะ เลือกใช้วิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไปวิธีใดก็ได้ตามมาตรา 4 จัตวา (1) แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับ ที่ 145) พ.ศ. 2527 3. หากบริษัทฯ ใช้อาคารหลังเดียวเป็นทั้งสำนักงานและโรงงานบริษัทฯ จึงไม่มีสิทธิหัก ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาได้เป็นกรณีพิเศษตามมาตรา 4 เบญจ แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 4. เนื่องจากราคาประเมินฯ ที่ดินเป็นราคาที่ทางราชการกำหนดขึ้น จึงให้บริษัทฯ มีสิทธิใช้ ราคาประเมินฯ ที่ดินของเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อนำมาคำนวณหักออกจากราคารวมอาคารและที่ดินคงเหลือ เป็นราคาอาคารได้ 5. บริษัทฯ มีสิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาอาคารโกดังเก็บสินค้าตามที่กล่าวใน 1. และไม่มีสิทธิหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินดังกล่าวเป็นกรณีพิเศษตามมาตรา 4 เบญจ แห่ง พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 |
เลขตู้ | : 66/32196 |