เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0706/132
วันที่: 8 มกราคม 2546
เรื่อง: ภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชน (Bilateral Repo)
ข้อกฎหมาย: มาตรา 3 เตรส, มาตรา 91/2, พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 350) พ.ศ. 2542, คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ
ข้อหารือ: ข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้
1. ภาระภาษีกรณีเงินชดเชยดอกเบี้ย (Manufactured Interest)
ข้อเท็จจริงของการทำธุรกรรมสรุปได้ดังนี้
ในกรณีที่ A ทำธุรกรรม Repo กับ B โดย A เป็นผู้กู้ ซึ่งต้องส่งมอบพันธบัตรให้แก่ B เพื่อ
เป็นหลักประกัน หากระหว่างที่สัญญา Repo ยังไม่ครบกำหนด ได้มีการจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตร (coupon)
(1) ผู้ทรงพันธบัตรขณะนั้น (ผู้ให้กู้คือ B) จะเป็นผู้ได้รับดอกเบี้ยซึ่งจะต้องถูกหักภาษี ณ
ที่จ่าย ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ดอกเบี้ยนั้นควรจะเป็นของเจ้าของพันธบัตรที่แท้จริงตามนัยของการทำ
ธุรกรรม Repo ซึ่งได้แก่ A (ผู้กู้)
(2) B (ผู้ให้กู้) จะต้องจ่ายเงินชดเชยดอกเบี้ยนั้นคืนให้แก่ A (ผู้กู้) เป็นจำนวนเท่ากับ
ที่ผู้ออกพันธบัตร (Issuer) ได้จ่ายให้ โดยไม่หักภาษีหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น (มีการกำหนดไว้ใน
สัญญา)
(3) B (ผู้ให้กู้) สามารถนำหลักฐานการถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปเป็นเครดิตภาษีใน
การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ สิ้นปีหรือกลางปี เพื่อขอรับคืนภาษีที่ได้ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้
2. ภาระภาษีกรณีเงินประกันเงินสด (Cash Margin)
ข้อเท็จจริงสรุปได้ว่า เมื่อมีการทำสัญญา Repo ระหว่างผู้กู้และผู้ให้กู้ ผู้กู้จะต้องโอน
หลักทรัพย์ไปให้ผู้ให้กู้เพื่อเป็นหลักประกันการกู้ยืม เมื่อหลักประกันดังกล่าวมีมูลค่าต่ำลงเกินกว่าที่ตกลงกัน
ไว้ ผู้กู้ก็ต้องเพิ่มหลักประกันให้แก่ผู้ให้กู้ ซึ่งผู้กู้อาจโอนหลักทรัพย์อื่นหรือเงินสดไปให้ผู้กู้ ในกรณีที่โอน
เงินสดไปเป็นหลักประกัน ผู้ให้กู้ก็จะจ่ายดอกเบี้ยให้ผู้กู้ด้วย ในทางกลับกันกรณีที่มีมูลค่าของหลักทรัพย์ที่
โอนไปเป็นหลักประกันในครั้งแรกสูงเกินกว่าที่ตกลงกัน ผู้ให้กู้ก็ต้องกระทำเช่นเดียวกัน
ตัวอย่างของการรับจ่ายดอกเบี้ยที่เกิดจากเงินประกันที่เป็นเงินสด สรุปได้ดังนี้การจ่ายเงิน
Margin
วันที่ 1 วันที่ 2 วันที่ 3 วันที่ 4 วันที่ 5 วันที่ 6
เริ่มทำ PD จ่าย margin ธปท.จ่าย PD จ่าย margin ธปท.จ่าย วันครบกำหนด
ธุรกรรม ให้ ธปท. Margin ให้ PD ให้ ธปท Margin ให้ PD สัญญา
ขาแรก 2 ล้านบาท 1.8 ล้านบาท 1 ล้านบาท 1.5 ล้านบาท
สมมติ อัตราดอกเบี้ยที่ใช้ในการคำนวณ margin ในวันที่ 2 คือ ร้อยละ 0.7500 ต่อปี
อัตราดอกเบี้ยที่ใช้ในการคำนวณ margin ในวันที่ 3 คือ ร้อยละ 0.9375 ต่อปี
อัตราดอกเบี้ยที่ใช้ในการคำนวณ margin ในวันที่ 4 คือ ร้อยละ 0.8500 ต่อปี
อัตราดอกเบี้ยที่ใช้ในการคำนวณ margin ในวันที่ 5 คือ ร้อยละ 0.9000 ต่อปี
การคำนวณดอกเบี้ย
วันที่ 1 วันที่ 2 วันที่ 3 วันที่ 4 วันที่ 5 วันที่ 6
เริ่มทำ PD จ่าย margin ธปท.จ่าย PD จ่าย margin ธปท.จ่าย วันครบกำหนด
ธุรกรรม ให้ ธปท. Margin ให้ PD ให้ ธปท Margin ให้ PD สัญญา
ขาแรก 2 ล้านบาท 1.8 ล้านบาท 1 ล้านบาท 1.5 ล้านบาท
PD = Primary Dealer
ธปท. = ธนาคารแห่งประเทศไทย
ในทางปฏิบัติ กรณีธนาคารแห่งประเทศไทยทำสัญญา Repo กับ Primary Dealer นั้น
Primary Dealer จะมอบอำนาจให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นผู้หักเงินหรือนำเงินเข้าบัญชีเงินฝาก
กระแสรายวันของ Primary Dealer ที่เปิดไว้ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย กรณีดังกล่าวข้างต้นทั้ง 2
กรณีเป็นอย่างไรบ้าง
แนววินิจฉัย: 1. ภาษีที่เกี่ยวกับเงินชดเชยดอกเบี้ย (Manufactured Interest)
1.1 ภาษีเงินได้นิติบุคคล
1.1.1 เมื่อมีการจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตร (coupon) ซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตาม
มาตรา 40(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้ถือพันธบัตร (ผู้ให้กู้) ซึ่งเป็น
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย ผู้จ่ายดังต่อไปนี้มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณที่จ่าย
(1) ธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ บริษัทตามกฎหมาย
ว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และบริษัทบริหารสินทรัพย์
ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่
ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ ธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการ
ประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และบริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมาย
ว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0 (2)
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งมิใช่ผู้จ่ายเงินได้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายตาม (1)
เป็นผู้จ่ายดอกเบี้ยพันธบัตรให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นธนาคารตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ บริษัทตาม
กฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ หรือบริษัทบริหาร
สินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ หักภาษี ณ ที่จ่าย โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ
1.0(3) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น ซึ่งมิใช่ผู้จ่ายเงินได้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
ตาม (1) เป็นผู้จ่ายดอกเบี้ยพันธบัตรให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการใน
ประเทศไทยแต่ไม่รวมถึงมูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ ธนาคารตามกฎหมายว่าด้วย
การธนาคารพาณิชย์ บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจ
เครดิตฟองซิเอร์และบริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ หักภาษี ณ ที่จ่าย
โดยคำนวณหักไว้ในอัตราร้อยละ 1.0
ทั้งนี้ ตามข้อ 4 แห่งคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.4/2528 ฯ ลงวันที่ 26
กันยายน พ.ศ. 2528 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.106/2545 ฯ ลงวันที่ 11
เมษายน พ.ศ. 2545
อนึ่ง กรณีที่ผู้ให้กู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย จากดอกเบี้ยพันธบัตรที่ได้รับ ผู้ให้กู้มีสิทธินำ
ภาษีที่ถูกหักไว้ไปถือเป็นเครดิตภาษี ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลของผู้ให้กู้ได้
1.1.2 เมื่อผู้ให้กู้จ่ายเงินชดเชยดอกเบี้ยซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา
40(8) แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่ผู้กู้ ผู้ให้กู้ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด
1.2 ภาษีธุรกิจเฉพาะ
1.2.1 เมื่อมีการจ่ายดอกเบี้ยพันธบัตร (coupon) ให้แก่ผู้ถือพันธบัตร(ผู้ให้กู้)
ผู้ให้กู้ไม่มีภาระภาษีธุรกิจเฉพาะแต่อย่างใด ทั้งนี้ ตามมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ และกำหนด
ฐานภาษีสำหรับกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะบางกรณี (ฉบับที่ 350) พ.ศ. 2542
1.2.2 เมื่อผู้ให้กู้จ่ายเงินชดเชยดอกเบี้ยให้แก่ผู้กู้ กรณีที่ผู้กู้เป็นผู้ประกอบกิจการ
ที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2 แห่งประมวลรัษฎากร ผู้กู้มีหน้าที่ต้องนำรายได้
ดังกล่าวไปเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
2. ภาษีที่เกี่ยวกับการจ่ายดอกเบี้ยจากเงินประกันที่เป็นเงินสด (Cash Ma rgin)กรณี
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทำสัญญา Repo กับ Primary Dealer (PD)
2.1 ภาษีเงินได้นิติบุคคล
2.1.1 การคำนวณดอกเบี้ยที่ได้รับให้ถือปฏิบัติ ดังนี้
วันที่ 1 วันที่ 2 วันที่ 3 วันที่ 4 วันที่ 5 วันที่ 6
เริ่มทำ PD จ่าย margin ธปท.จ่าย PD จ่าย margin ธปท.จ่าย วันครบกำหนด
ธุรกรรม ให้ ธปท. Margin ให้ PD ให้ ธปท Margin ให้ PD สัญญา
ขาแรก 2 ล้านบาท 1.8 ล้านบาท 1 ล้านบาท 1.5 ล้านบาท
(ก) การคำนวณดอกเบี้ยกรณีที่มีการหักกลบเงินกันระหว่าง ธปท. และ PD
อัตราดอกเบี้ย (0.75%) (0.9375%) (0.85%) (0.90%)
ดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย วันที่ 2 วันที่ 3 วันที่ 4 วันที่ 5 รวม
ธปท. 41.10 5.14 27.95 74.19
PD 7.39 7.39
(ข) การคำนวณดอกเบี้ยกรณีที่มิได้มีการหักกลบเงินกันระหว่าง ธปท. และ PD
ดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย วันที่ 2 วันที่ 3 วันที่ 4 วันที่ 5 รวม
ธปท. 41.10 51.37 69.87 73.98 236.32
PD - 46.23 41.92 81.37 169.52
ดังนั้น เมื่อ ธปท. จ่ายดอกเบี้ย 74.19 บาท หรือ 236.32 บาทแล้วแต่
กรณี ให้แก่ PD ซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในประเทศไทย ธปท. มีหน้าที่ต้อง
หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1.0 ตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากรและกรณีที่ PD ซึ่งเป็น
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจ่ายดอกเบี้ย 7.39 บาท หรือ 169.52 บาท แล้วแต่กรณี ให้แก่ ธปท.
PD ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เพราะ ธปท. ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตาม
ประมวลรัษฎากรแต่อย่างใด
2.1.2 กรณีที่ PD ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย จากดอกเบี้ยที่ได้รับจากเงินประกันเงินสด
PD มีสิทธินำภาษีที่ถูกหักไว้ไปถือเป็นเครดิตภาษี ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้
2.2 ภาษีธุรกิจเฉพาะ PD ต้องนำดอกเบี้ยที่ได้รับจาก ธปท. ที่จ่ายจากเงินประกันที่เป็น
เงินสด (Cash Margin) ไปเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2 แห่งประมวลรัษฎากร แต่ ธปท.
ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/3(1) แห่งประมวลรัษฎากร
เลขตู้: 66/32179

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020