เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0706/593
วันที่: 20 มกราคม 2546
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย กรณีการขออนุมัติจัดทำรายการในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นอย่างอื่น
ข้อกฎหมาย: มาตรา 50 ทวิ
ข้อหารือ: บริษัท ก. ได้รับอนุมัติให้ใช้แบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นอย่างอื่น ตั้งแต่วันที่ 7
ธันวาคม 2543 ตามข้อ 4 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 62) เรื่อง
กำหนดแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2539 ต่อมากรมสรรพากรได้
ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 100) เรื่อง กำหนดแบบ
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ลงวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2544 โดยแก้ไขเพิ่มเติมข้อ 2 และ 3
ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 62)ฯ ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2539
ซึ่งมีผลใช้บังคับสำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 โดยผ่อนผันให้ใช้
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามแบบที่กำหนดไว้ตามข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 62)ฯ ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2539 ต่อไปได้จนถึงวันที่ 31 มีนาคม
2545 และกรมสรรพากรได้มีหนังสือที่ กค 0811/ว.2764 ลงวันที่ 1 เมษายน 2545 อนุมัติให้ใช้
หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้ต่อไปสำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินปันผล
หรือส่วนแบ่งของกำไรตามมาตรา 40(4)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2545
บริษัทฯ จึงหารือว่าแบบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายของบริษัทฯ ซึ่งมิได้ใช้สำหรับการจ่าย
เงินได้พึงประเมินประเภทเงินปันผลหรือส่วนแบ่งของกำไรที่กรมสรรพากรเคยอนุมัติให้ใช้ได้ก่อนที่จะมี
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 100)ฯ ลงวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2544
นั้น ยังคงใช้ได้ต่อไปถูกต้องหรือไม่
แนววินิจฉัย: เมื่อบริษัทฯ ได้รับอนุมัติให้จัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นอย่างอื่นตามข้อ 4
ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 62)ฯ ลงวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2539
บริษัทฯ สามารถใช้หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่ได้รับอนุมัติให้จัดทำเป็นอย่างอื่นนั้นได้ต่อไป
เลขตู้: 66/32208

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020