เลขที่หนังสือ | : กค 0706/10878 |
วันที่ | : 18 ธันวาคม 2545 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพออกจากงานเพราะเกษียณอายุ |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 54 วรรคหนึ่ง, ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52)ฯ, กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509)ฯ |
ข้อหารือ | : บริษัทฯ ในฐานะบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดการและบริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทฯ ขอหารือปัญหาเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ดังนี้ 1. ในกรณีข้อบังคับของนายจ้างมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการเกษียณอายุไว้เป็นช่วง เช่น กำหนด ให้พนักงานออกจากงานโดยถือเป็นการเกษียณอายุเมื่อมีอายุครบ 55 ปีขึ้นไปจนถึงวันแรกของเดือนถัด จากเดือนที่พนักงานมีอายุครบ 60 ปี โดยเมื่อถึงช่วงเวลาดังกล่าว พนักงานและนายจ้างต้องทำข้อตกลง เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อกำหนดอายุเกษียณของพนักงาน กรณีดังกล่าวหากพนักงานได้เข้าเป็นสมาชิก กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี และได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะได้รับยกเว้น ภาษีหรือไม่ 2. ในกรณีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือนายจ้างผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย หัก ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายสำหรับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือเงินค่าชดเชยที่จ่ายให้แก่พนักงานที่สิ้นสุดการ เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือสิ้นสุดการเป็นลูกจ้างไว้ไม่ครบถ้วน ใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ สำหรับภาษีในส่วนที่ไม่ได้มีการหักและนำส่ง รวมทั้งเงินเพิ่มและเบี้ยปรับ |
แนววินิจฉัย | : 1. กรณีนายจ้างและพนักงานตกลงกันเพื่อให้พนักงานออกจากงานโดยเกษียณอายุก่อนกำหนด ไม่เข้าลักษณะเป็นการออกจากงานเพราะเกษียณอายุตามหลักเกณฑ์ของข้อ 1(1) ของ ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 52) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และ วิธีการ สำหรับกรณีลูกจ้างออกจากงานเพราะเกษียณอายุ ทุพพลภาพ หรือตาย ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ดังนั้น เงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่พนักงานจะได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจึงไม่ได้รับ ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามข้อ 2(36) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตาม ความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 195 (พ.ศ. 2538) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร 2. กรณีผู้จ่ายเงินซึ่งมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และนำส่งไว้ แล้ว แต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้อง ผู้มีหน้าที่หักภาษีซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสีย ภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนเงินภาษีที่ขาดไปตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร และต้อง เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่ง โดยไม่รวม เบี้ยปรับตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร |
เลขตู้ | : 65/32133 |