เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0706/พ./10931
วันที่: 18 ธันวาคม 2545
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีรายจ่ายส่วนต่างของดอกเบี้ย
ข้อกฎหมาย: คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.36/2536 ฯ
ข้อหารือ: สรรพากรจังหวัด หารือปัญหาภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีรายจ่ายส่วนต่างของ
ดอกเบี้ยสรุปข้อเท็จจริงว่าบริษัทฯ ได้จัดโปรโมชั่นจำหน่ายรถยนต์โดยบริษัทฯ จะขายรถยนต์คันที่ลูกค้า
จะซื้อให้บริษัท J แล้ว บริษัท J จะให้เช่าซื้อรถยนต์ดังกล่าวกับลูกค้าคิดดอกเบี้ยผ่อนชำระอัตราร้อยละ
6 แต่บริษัทฯ จะรับภาระดอกเบี้ยแทนลูกค้า (ส่วนต่างของดอกเบี้ย)อัตราร้อยละ 2.1 คงเหลือลูกค้ารับ
ภาระเองอัตราร้อยละ 3.9 โดยบริษัทฯ ยอมให้บริษัท J หักออกจากยอดเงินต้นของทรัพย์สินที่เช่าซื้อซึ่ง
บริษัท J ออกใบกำกับภาษีแสดงรายการเป็นรายได้ชดเชยดอกเบี้ยให้กับบริษัทฯ กรณีดังกล่าวบริษัทฯ
ไม่ได้รับเงินชดเชยจากบริษัทแม่ สำหรับส่วนต่างของดอกเบี้ยที่บริษัทฯ รับภาระแทนลูกค้า แต่ได้รับ
เงินรางวัลเป้าจำหน่ายตามเงื่อนไขที่บริษัทแม้กำหนดไว้ จึงขอทราบว่า รายจ่ายส่วนต่างของดอกเบี้ยที่
บริษัทฯ รับภาระแทนลูกค้านำมาถือเป็นรายจ่ายของบริษัทฯ ได้หรือไม่ และบริษัทฯ จะนำภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตามใบกำกับภาษีที่ได้รับจากบริษัท J มาถือเป็นภาษีซื้อได้หรือไม่
แนววินิจฉัย: กรณีดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการซื้อขายรถยนต์ที่ผู้ซื้อได้ตกลงว่าจะซื้อขายรถยนต์ในลักษณะให้
เช่าซื้อภายหลังจากที่ได้มีการชำระเงินล่วงหน้าจำนวนหนึ่งให้กับบริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้ขาย ดังนั้น เมื่อบริษัทฯ
ได้ขายรถยนต์คันดังกล่าวให้แก่บริษัท J ผู้ให้เช่าซื้อ ถือว่าบริษัทฯ ได้ขายรถยนต์ที่ผู้ซื้อได้ชำระราคา
ล่วงหน้าไว้แล้วแก่ผู้ให้เช่าซื้อตามมูลค่าทั้งหมดของรถยนต์รวมทั้งส่วนที่ได้มีการชำระล่วงหน้าด้วยและ
ผู้ให้เช่าซื้อได้ขายรถยนต์ตามสัญญาให้เช่าซื้อให้แก่ผู้เช่าซื้อตามมูลค่าทั้งหมดของรถยนต์รวมทั้งราคา
รถยนต์ที่ชำระล่วงหน้า ดังนั้น บริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้ขายและบริษัท J ผู้ให้เช่าซื้อจะต้องปฏิบัติตามข้อ 5 ของ
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.36/2536 เรื่อง การขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อหรือสัญญาซื้อขายผ่อนชำระ
ที่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังไม่โอนไปยังผู้ซื้อเมื่อได้ส่งมอบตามมาตรา 78(2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่
15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536
เลขตู้: 65/32138


 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020