เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0706(กม.06)/พ./124
วันที่: 7 พฤศจิกายน 2545
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณี การเก็บ สำเนา ใบกำกับภาษี และ ใบ แนบ ใบกำกับภาษี ไว้ ใน สื่อ บันทึกข้อมูล
ข้อกฎหมาย: มาตรา 86/4 (5)
ข้อหารือ: 1. บริษัท อ. ประกอบกิจการ ส่งออก รถยนต์ และ ชิ้น ส่วนประกอบ รถยนต์ ไป ต่างประเทศ เมื่อ
เดือน มีนาคม 2545 บริษัท ฯ เพิ่มเติม ธุรกิจ ขาย ชิ้น ส่วนประกอบ รถยนต์ ใน ประเทศ ด้วย โดย บริษัท ฯ จะซื้อ
ชิ้น ส่วนประกอบ รถยนต์ จาก ตัวแทน จำหน่าย ( Vender ) ใน ประเทศ ประมาณ 200 ราย และ สินค้า เป็น ชิ้น
ส่วน รถยนต์ ประมาณ 3,000 - 4,000 ชิ้น ส่วน บริษัท ฯ จะ บันทึก ซื้อ สินค้า เป็น ราย ชิ้น ส่วน แล้ว จะ
รวบรวม ชิ้น ส่วน แต่ละ ชิ้น ให้ เป็น ชุด ( set ) โดย ใน 1 ชุด ( 1 set ) จะ สามารถ ประกอบ เป็น รถยนต์ ได้
จำนวน 1 คัน และ ใน การ จัด กลุ่ม ให้ เป็น ชุด จะ ระบุ ประเภท เป็น ราย model , lot ด้วย แล้ว จึง ขาย ชิ้น
ส่วน รถยนต์ ที่ เป็น ชุด ( set ) ให้ แก่ บริษัท ต. ซึ่ง เป็น ลูกค้า เพียง ราย เดียว ของ บริษัท ฯ จะ
ออกใบกำกับภาษี พร้อม ใบ แนบ ใบกำกับภาษี ดังนี้
1.1 ออกใบกำกับภาษี เป็น กระดาษ โดย ระบุ รายการ เป็น รุ่น ของ รถยนต์ จำนวน ชุด ที่
จำหน่าย ราคา ต่อ ชุด และ มูลค่า สินค้า ที่ ขาย
1.2 ออก ใบ แนบ ใบกำกับภาษี ระบุ รายละเอียด ชิ้น ส่วนประกอบ รถยนต์ ทุก ชนิด เป็น ราย ชิ้น
ส่วน ( Parts )
2. บริษัท ฯ ใช้ คอมพิวเตอร์ จัดทำ รายละเอียด ใบ แนบ ใบกำกับภาษี เนื่องจาก มี รายละเอียด
ของ ชิ้น ส่วน เป็น จำนวน มาก และ มี ความ ประสงค์ ที่ จะ
2.1 ขอ จัดเก็บ ใบ แนบ ใบกำกับภาษี ใน รูป ของ Soft Copy สำรอง ไว้ ใน เทป และ ฮาร์ดดิสก์
โดย ไม่ พิมพ์ เป็น กระดาษ ซึ่ง จะ มี เป็น จำนวน มาก เพื่อ ประหยัด ต้นทุน กระดาษ และ พื้นที่ จัดเก็บ
2.2 ขอ ไม่ ส่ง ข้อมูล ใบ แนบ ใบกำกับภาษี ให้ แก่ ผู้ซื้อ เพราะ ผู้ซื้อ ได้ บันทึก รายการ ซื้อ สินค้า
เป็น ชุด จึง ไม่ต้อง การ รายละเอียด สินค้า ที่ เป็น ราย ชิ้น ส่วน
2.3 ขอ ไม่ ระบุ คำ ว่า " แผ่น ที่ " ไว้ ใน ใบ แนบ ใบกำกับภาษี และ ขอ ไม่ ระบุ รายการ
หมายเหตุ ใน ใบกำกับภาษี ว่า มี รายละเอียด ตาม ใบ แนบ ใบกำกับภาษี จำนวน ... แผ่น ตาม
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 86/2542 ฯ ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 เนื่องจาก บริษัท ฯ ขอ อนุมัติ
เก็บ ใบ แนบ ใบกำกับภาษี ไว้ ใน สื่อ บันทึกข้อมูล ซึ่ง ข้อมูล ของ ใบ แนบ ใบกำกับภาษี เป็น data จึง ไม่ สามารถ
ทราบ ได้ ว่า มี จำนวน แผ่น เท่าใด แต่ ถ้า download ข้อมูล ลง บน excell file เพื่อ ทำ การพิมพ์ ออก เป็น
กระดาษ ก็ จะ สามารถ กำหนด จำนวน แผ่น ได้ สำหรับ การ อ้างอิง ว่า ใบ แนบ ใบกำกับภาษี นั้น เป็น เอกสาร ของ
ใบกำกับภาษี ชุด ใด และ ออก จำนวน ครบ หรือไม่ กรมสรรพากร สามารถ ตรวจสอบ ได้ จาก เลขที่ อ้างอิง
ใบกำกับภาษี วัน เดือน ปี ที่ ออก เอกสาร และ รายละเอียด ของ สินค้า ที่ ขาย ใน ใบกำกับภาษี และ ใบ แนบ
ใบกำกับภาษี สามารถ อ้างอิง กัน ได้
แนววินิจฉัย: 1. กรณี บริษัท ฯ ประกอบกิจการ ขาย ชิ้น ส่วน รถยนต์ โดย รวบรวม ชิ้น ส่วน แต่ละ ชิ้น ให้ เป็น ชุด
( set ) ซึ่ง ใน 1 ชุด ( 1 set ) สามารถ ประกอบ เป็น รถยนต์ ได้ จำนวน 1 คัน และ ใน การขาย ชิ้น ส่วน
บริษัท ฯ ได้ ออกใบกำกับภาษี ให้ แก่ ผู้ซื้อ โดย ระบุ ใน ช่อง รายการ มี สาระสำคัญ ว่า Local Parts Pack
Model TFR54HSM2A รวมทั้ง ระบุ จำนวน หน่วย ที่ ขาย และ มูลค่า สินค้า ซึ่ง เป็น การขาย เป็น ชุด ถือว่า บริษัท ฯ
ออกใบกำกับภาษี โดย ระบุ ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และ มูลค่า สินค้า ตาม มาตรา 86/4 (5) แห่ง
ประมวลรัษฎากร แล้ว กรณี ดังกล่าว มิใช่ กรณี บริษัท ฯ ขายสินค้า ให้ แก่ ลูกค้า ราย หนึ่ง ราย ใด ครั้งหนึ่ง ๆ
จำนวน หลาย รายการ และ ไม่ สามารถ ระบุ รายการ ชื่อ ชนิด ประเภท ปริมาณ และ มูลค่า ของ สินค้า ทั้งหมด
ใน ใบกำกับภาษี 1 แผ่น ซึ่ง กรมสรรพากร กำหนด แนวทางปฏิบัติ ใน การ จัดทำใบกำกับภาษี ไว้ ใน ข้อ 9 ของ
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 86/2542 ฯ ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 มี สาระสำคัญ ว่า
ผู้ประกอบการ จดทะเบียน สามารถ จัดทำ ใบ แนบ ใบกำกับภาษี ได้ ดังนั้น กรณี บริษัท ฯ จัดทำ และ จัดเก็บ
เอกสาร รายละเอียด ของ ชิ้น ส่วน ต่าง ๆ ของ รถยนต์ ที่ ประกอบ ขึ้น เป็น 1 ชุด เพื่อ ขาย จึง มิใช่ ใบ แนบ
ใบกำกับภาษี ตาม คำสั่งกรม สร พา กร ดังกล่าว
2. กรณี บริษัท ฯ ขอ อนุมัติ เก็บ สำเนา ใบกำกับภาษี และ เอกสาร รายละเอียด ของ ชิ้น ส่วน ต่าง ๆ
ของ รถยนต์ ที่ ประกอบ ขึ้น เป็น 1 ชุด นั้น กรมสรรพากร อยู่ ระหว่าง ดำเนินการ จัดทำ แนวทางปฏิบัติ กรณี การ
จัดทำ และ การ จัดเก็บ เอกสาร หลักฐาน ตาม ประมวลรัษฎากร ที่ มี ข้อความ อยู่ ใน รูป ของ ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์
ซึ่ง จะ ได้ ประกาศ ให้ ทราบ ต่อไป
เลขตู้: 65/32071


 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020