เลขที่หนังสือ | : กค 0706/10308 |
วันที่ | : 25 พฤศจิกายน 2545 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะ และ อากรแสตมป์ กรณี การ ได้ รับ สิทธิ ประโยชน์ ยกเว้น ภาษีอากร จาก การปรับปรุง โครงสร้าง หนี้ |
ข้อกฎหมาย | : พระราชกฤษฎีกา ฯ ( ฉบับ ที่ 399 ) พ.ศ. 2545 , ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ฯ ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 |
ข้อหารือ | : หารือ กรมสรรพากร เกี่ยวกับ การ ได้ รับ สิทธิ ประโยชน์ ทาง ภาษีอากร กรณี การปรับปรุง โครงสร้าง หนี้ โดย ปรากฏ ข้อเท็จจริง ดังนี้ 1. บริษัท ฯ เป็น ลูกหนี้ ของ บริษัทเงินทุน ฯ ตาม สัญญากู้เงิน ฉบับ ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2538 โดย มี หนี้ เงินต้น และ ดอกเบี้ย ค้างชำระ จำนวน 307,049,430.27 บาท ต่อมา เมื่อ วันที่ 5 กรกฎาคม 2544 บริษัทเงินทุน ฯ ให้ บริษัท ฯ และ นาย อ. นาย ว . นาย ส . นาย พ . นางสาว ข. และ บริษัท ช . ผู้จำนอง และ ผู้ค้ำประกัน ทำ สัญญา ปรับปรุง โครงสร้าง หนี้ ตาม หลักเกณฑ์ การปรับปรุง โครงสร้าง หนี้ ของ สถาบันการเงิน ที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศ กำหนด โดย นำ ที่ดิน หลักประกัน จำนวน 101 โฉนด ซึ่ง บริษัท ฯ ผู้จำนอง และ ผู้ค้ำประกัน ได้ จำนอง ไว้ ต่อ บริษัทเงินทุน ฯ เพื่อ ประกันหนี้ เงินกู้ ดังกล่าว โอน ขาย ให้ แก่ บุคคลภายนอก เพื่อ นำ เงิน ที่ ได้ จาก การขาย ที่ดิน ซึ่ง เป็น หลักประกัน จำนวน 103 ล้าน บาท ไป ชำระ หนี้ ให้ แก่ บริษัทเงินทุน ฯ ตาม สัญญา ปรับปรุง โครงสร้าง หนี้ 2. ต่อมา บริษัท ฯ และ ผู้จำนอง ได้ ตกลง ขาย ที่ดิน หลักประกัน ทั้งหมด ให้ กับ บุคคลภายนอก เพื่อ ชำระ หนี้ ให้ แก่ บริษัทเงินทุน ฯ โดย สัญญา ปรับปรุง โครงสร้าง หนี้ กำหนด ให้ ผ่อนชำระ หนี้ เป็น งวด ๆ เมื่อ ชำระ หนี้ จำนวน 70 ล้าน บาท บริษัทเงินทุน ฯ จะ ยอม ให้ ไถ่ถอน จำนอง ที่ดิน หลักประกัน บางส่วน ไป โอนกรรมสิทธิ์ ให้ แก่ ผู้ซื้อ และ เมื่อ ชำระ หนี้ จน ครบ จำนวน 103 ล้าน บาท แล้ว จะ ยอม ให้ ไถ่ถอน จำนอง ที่ดิน หลักประกัน ที่ เหลือ ทั้งหมด ไป โอนกรรมสิทธิ์ ให้ แก่ ผู้ซื้อ กรณี ดังกล่าว บริษัท ฯ ได้ ตกลง ให้ ผู้ซื้อ นำ ราคา ที่ดิน ที่ ต้อง ชำระ แก่ บริษัท ฯ ไป ชำระ ให้ แก่ บริษัทเงินทุน ฯ เป็น งวด โดยตรง ซึ่ง ตาม สัญญา ปรับปรุง โครงสร้าง หนี้ ผู้ซื้อ จะ ต้อง ชำระ ราคา ที่ดิน จำนวน 103 ล้าน บาท ให้ แล้ว เสร็จ ใน เดือน พฤศจิกายน 2545 อย่างไรก็ตาม ผู้ซื้อ ได้ ชำระ ราคา ที่ดิน ให้ แก่ บริษัทเงินทุน ฯ จน ครบ จำนวน 103 ล้าน บาท เมื่อ วันที่ 5 สิงหาคม 2545 ซึ่ง เป็น การ ชำระ ก่อน กำหนดเวลา 3. เนื่องจาก การ ชำระ ราคา ที่ดิน ได้ แบ่ง ชำระ เป็น งวด ๆ ประกอบ กับ ที่ดิน ที่ ตกลง ให้ นำออก ขาย เพื่อ นำ เงิน มา ชำระ หนี้ ให้ แก่ บริษัทเงินทุน ฯ มี อยู่ จำนวน มาก บริษัทเงินทุน ฯ จึง ไม่ สามารถ ออก หนังสือรับรอง การ โอน อสังหาริมทรัพย์ ตาม พระราชกฤษฎีกา ฯ ( ฉบับ ที่ 399 ) พ.ศ. 2545 ให้ แก่ ผู้ซื้อ ทันที ใน วันที่ มี การ ชำระ ราคา ที่ดิน แต่ละ งวด และ เมื่อ ผู้ซื้อ ได้ ชำระ ราคา ที่ดิน จน ครบถ้วน จำนวน 103 ล้าน บาท ใน วันที่ 5 สิงหาคม 2545 แล้ว บริษัทเงินทุน ฯ จึง ได้ ออก หนังสือรับรอง การ โอน อสังหาริมทรัพย์ โดย ลงวันที่ ตาม วันที่ ผู้ซื้อ ชำระ ราคา ที่ดิน ครบถ้วน 4. โดยที่ ตาม ข้อ 5 ของ หนังสือรับรอง การ โอน อสังหาริมทรัพย์ ได้ ระบุ ข้อความ ว่า " และ ใน วันที่ ทำ หนังสือ ฉบับ นี้ ลูกหนี้ มี หนี้ ค้างชำระ อยู่ กับ เจ้าหนี้ จำนวน ..... บาท " กรณี ดังกล่าว เจ้าพนักงานที่ดิน กรุงเทพมหานคร สาขา หนองจอก มี ความเห็น ว่า ข้อความ ที่ ระบุ ใน หนังสือรับรอง การ โอน อสังหาริมทรัพย์ มี ข้อความ ไม่ ตรงกับ ข้อความ ตามที่ แนบท้าย ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไข การ ยกเว้น ภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และ อากรแสตมป์ สำหรับ จำนวนเงิน ที่ ได้ รับ จาก การ โอน อสังหาริมทรัพย์ ของ ลูกหนี้ ของ สถาบันการเงิน ที่ นำ มา จำนอง เป็น ประกันหนี้ ของ เจ้าหนี้ ที่ เป็น สถาบันการเงิน ให้ แก่ ผู้อื่น ซึ่ง มิใช่ เจ้าหนี้ ที่ เป็น สถาบันการเงิน เพื่อ นำ ไป ชำระ หนี้ ที่ ค้างชำระ แก่ เจ้าหนี้ ที่ เป็น สถาบันการเงิน ซึ่ง ได้ ดำเนินการ ปรับปรุง โครงสร้าง หนี้ ตาม หลักเกณฑ์ การปรับปรุง โครงสร้าง หนี้ ของ สถาบันการเงิน ที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศ กำหนด ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 ซึ่ง ระบุ ว่า " และ ใน ขณะ ที่ ทำ สัญญา โอน อสังหาริมทรัพย์ ตาม หนังสือรับรอง ฉบับ นี้ ลูกหนี้ มี หนี้ คง ค้างชำระ อยู่ กับ เจ้าหนี้ จำนวน ..... บาท " บริษัท ฯ จึง ไม่ได้ รับ สิทธิ ยกเว้น ภาษีอากร ตาม พระราชกฤษฎีกา ฯ ( ฉบับ ที่ 399 ) พ.ศ. 2545 แต่ อย่างใด บริษัท ฯ จึง หารือ ว่า 4.1 การ โอน อสังหาริมทรัพย์ ของ บริษัท ฯ และ ผู้จำนอง ให้ แก่ ผู้ซื้อ โดย ผู้ซื้อ ได้ ชำระ ราคา ที่ดิน ให้ บริษัทเงินทุน ฯ ไป ก่อน วัน จดทะเบียน โอนกรรมสิทธิ์ ที่ดิน จะ ได้ รับ สิทธิ ยกเว้น ภาษีอากร ตาม พระราชกฤษฎีกา ฯ ( ฉบับ ที่ 399 ) พ.ศ. 2545 หรือไม่ 4.2 ข้อความ ที่ ระบุ ใน ข้อ 5 ของ หนังสือรับรอง การ โอน อสังหาริมทรัพย์ ซึ่ง ออก โดย บริษัทเงินทุน ฯ สามารถ ใช้ เป็น หลักฐาน ใน การ จดทะเบียน โอน อสังหาริมทรัพย์ เพื่อ รับ สิทธิ ประโยชน์ ทาง ภาษีอากร ได้ หรือไม่ หาก ข้อความ ใน หนังสือ ดังกล่าว ไม่ถูกต้อง บริษัทเงินทุน ฯ จะ ต้อง ออก หนังสือ ข้อความ อย่างไร เพื่อ ให้ สอดคล้อง กับ ข้อเท็จจริง และ ถูกต้อง เพื่อ สามารถ ใช้ เป็น หลักฐาน ใน การ ขอรับสิทธิ ยกเว้น ภาษีอากร ตาม พระราชกฤษฎีกา ฯ ฉบับ ดังกล่าว ได้ |
แนววินิจฉัย | : 1. กรณี ตาม 4.1 บริษัท ฯ ผู้จำนอง และ ผู้ค้ำประกัน ได้ ตกลง ขาย ที่ดิน ซึ่ง จำนอง เป็น หลักประกัน หนี้ ของ บริษัทเงินทุน ฯ เจ้าหนี้ ที่ เป็น สถาบันการเงิน อยู่ ก่อน วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ให้ แก่ ผู้ซื้อ ซึ่ง เป็น บุคคลภายนอก โดย ผู้ซื้อ ตกลง ชำระ ราคา ที่ดิน ให้ แก่ บริษัทเงินทุน ฯ ตาม สัญญา ปรับปรุง โครงสร้าง หนี้ ซึ่ง ดำเนินการ ตาม หลักเกณฑ์ การปรับปรุง โครงสร้าง หนี้ ของ สถาบันการเงิน ที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศ กำหนด กรณี ดังกล่าว หาก บริษัท ฯ โอนกรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน ที่ จำนอง เป็น ประกัน ให้ แก่ ผู้ซื้อ ในระหว่าง วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2545 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2545 บริษัท ฯ ย่อม ได้ รับ สิทธิ ยกเว้น ภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และ อากรแสตมป์ สำหรับ เงินได้ ที่ ได้ จาก การ โอน อสังหาริมทรัพย์ ให้ แก่ ผู้ซื้อ ซึ่ง มิใช่ เจ้าหนี้ ที่ เป็น สถาบันการเงิน และ สำหรับ การกระทำ ตราสาร อัน เนื่องมาจาก การ โอน อสังหาริมทรัพย์ ดังกล่าว ทั้งนี้ เฉพาะ ส่วน ที่ ไม่เกิน กว่า หนี้ ที่ ค้างชำระ อยู่ กับ สถาบันการเงิน หรือ มี ภาระ ผูกพัน ตาม สัญญาประกัน หนี้ กับ สถาบันการเงิน ตาม มาตรา 8 แห่ง พระราชกฤษฎีกา ฯ ( ฉบับ ที่ 399 ) พ.ศ. 2545 ประกอบ กับ ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และ เงื่อนไข การ ยกเว้น ภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ และ อากรแสตมป์ สำหรับ จำนวนเงิน ที่ ได้ รับ จาก การ โอน อสังหาริมทรัพย์ ของ ลูกหนี้ ของ สถาบันการเงิน ที่ นำ มา จำนอง เป็น ประกันหนี้ ของ เจ้าหนี้ ที่ เป็น สถาบันการเงิน ให้ แก่ ผู้อื่น ซึ่ง มิใช่ เจ้าหนี้ ที่ เป็น สถาบันการเงิน เพื่อ นำ ไป ชำระ หนี้ ที่ ค้างชำระ แก่ เจ้าหนี้ ที่ เป็น สถาบันการเงิน ซึ่ง ได้ ดำเนินการ ปรับปรุง โครงสร้าง หนี้ ตาม หลักเกณฑ์ การปรับปรุง โครงสร้าง หนี้ ของ สถาบันการเงิน ที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศ กำหนด ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 2. กรณี ตาม 4.2 แม้ว่า ตาม ข้อ 5 ของ หนังสือรับรอง การ โอน อสังหาริมทรัพย์ ที่ ออก โดย บริษัทเงินทุน ฯ ใช้ ข้อความ ว่า " และ ใน วันที่ ทำ หนังสือ ฉบับ นี้ ลูกหนี้ มี หนี้ ค้างชำระ อยู่ กับ เจ้าหนี้ จำนวน ... บาท " โดย ข้อความ ดังกล่าว แตกต่าง จาก ข้อความ ตาม วรรคสอง ของ ข้อ 5 ของ แบบ แนบท้าย ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ฯ ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 ซึ่ง ใช้ ข้อความ ว่า " และ ใน ขณะ ที่ ทำ สัญญา โอน อสังหาริมทรัพย์ ตาม หนังสือรับรอง ฉบับ นี้ ลูกหนี้ มี หนี้ คง ค้างชำระ อยู่ กับ เจ้าหนี้ จำนวน ..... บาท " กรณี ดังกล่าว ไม่ ทำให้ สาระสำคัญ ของ การ ได้ รับ สิทธิ ประโยชน์ ทาง ภาษีอากร ตาม พระราชกฤษฎีกา ฯ ( ฉบับ ที่ 399 ) พ.ศ. 2545 เปลี่ยนแปลง ไป แต่ อย่างใด บริษัท ฯ จึง สามารถ ใช้ หนังสือรับรอง การ โอน อสังหาริมทรัพย์ ที่ บริษัทเงินทุน ฯ ออก ให้ เป็น หลักฐาน เพื่อ ขอรับสิทธิ ประโยชน์ ทาง ภาษีอากร ตาม พระราชกฤษฎีกา ฯ ฉบับ ดังกล่าว ได้ |
เลขตู้ | : 65/32076 |