เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0706/9835
วันที่: 5 พฤศจิกายน 2545
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณี การ ยกเว้น ภาษีอากร
ข้อกฎหมาย: มาตรา 41 , มาตรา 105
ข้อหารือ: จังหวัด นนทบุรี หารือ เกี่ยวกับ การ ยกเว้น ภาษีอากร ตาม ประมวลรัษฎากร กรณี นาย จ. ขอ
จดทะเบียน โอน ที่ดิน อำเภอ เมือง นนทบุรี จังหวัด นนทบุรี ซึ่ง ได้ จดทะเบียน จำนอง ไว้ กับ ธนาคาร ตาม
สัญญาจำนอง ให้ กับ ธนาคาร ฯ ( ผู้รับจำนอง ) เพื่อ เป็น การ ชำระ หนี้ เงินกู้ ตาม สัญญาจำนอง และ ธนาคาร ฯ
( ผู้รับโอน ) แจ้ง ว่า ธนาคาร ฯ ตกลง รับ ภาระ เป็น ผู้ เสีย ค่าธรรมเนียม ค่า ภาษีอากร และ ค่าใช้จ่าย อื่น
ทั้งหมด จึง ขอ ยกเว้น การ เรียกเก็บ ค่าธรรมเนียม จดทะเบียน สิทธิ และ นิติกรรม และ ค่า ภาษีอากร ตาม
มาตรา 41 แห่ง พระราชบัญญัติ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509 จึง หารือ ว่า
ตาม ประมวลรัษฎากร กำหนด ให้ ฝ่าย ผู้มีเงินได้ มี หน้าที่ เสีย ภาษีเงินได้ และ ผู้ ออก ใบรับ มี หน้าที่ เสีย ค่า อากร
แต่ ธนาคาร ฯ ซึ่ง มิใช่ ผู้มีเงินได้ และ ผู้ ออก ใบรับ ได้ ทำ ความตกลง รับ ภาระ เป็น ผู้เสียภาษี เอง เช่นนี้ ใน การ
จดทะเบียน โอน ชำระ หนี้ จำนอง ธนาคาร ฯ จะ ได้ รับ ยกเว้น ไม่ต้อง เสีย ภาษีอากร ตาม มาตรา 41 วรรคแรก
แห่ง พระราชบัญญัติ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือไม่
แนววินิจฉัย: ธกส. ใน ฐานะ ผู้รับจำนอง ตกลง จะ รับ ภาระ เป็น ผู้ เสีย ค่าธรรมเนียม ค่า ภาษีอากร และ
ค่าใช้จ่าย อื่น ทั้งหมด แทน ผู้โอน ที่ เป็น บุคคลธรรมดา ซึ่ง ตาม ประมวลรัษฎากร ถือว่า เป็น ผู้มีเงินได้ และ ไม่มี
กฎหมาย ใด ยกเว้น ภาษีอากร ไว้ จึง มี หน้าที่ ต้อง เสีย ภาษีเงินได้ ตาม มาตรา 41 แห่ง ประมวลรัษฎากร และ
ต้อง ออก ใบรับ ตาม มาตรา 105 แห่ง ประมวลรัษฎากร และ เนื่องจาก การ จดทะเบียน โอน อสังหาริมทรัพย์
ซึ่ง เป็น นิติกรรม ที่ เป็นเหตุ ให้ ออก ใบรับ เป็น นิติกรรม ที่ ต้อง จดทะเบียน ตาม กฎหมาย ใบรับ ดังกล่าว จึง ต้อง
ปิดแสตมป์ ตาม ลักษณะ แห่ง ตราสาร 28. (ข) ใบรับ แห่ง บัญชีอัตราอากรแสตมป์ โดย ผู้ ออก ใบรับ เป็น ผู้ ที่ ต้อง
เสีย อากร ดังนั้น กรณี ผู้โอน ซึ่ง เป็น ผู้ ที่ ต้อง เสีย อากร ตาม ลักษณะ แห่ง ตราสาร 28. (ข) ใบรับ แห่ง
บัญชีอัตราอากรแสตมป์ และ ไม่ได้ รับ ยกเว้น ไม่ต้อง เสีย อากร ได้ ตกลง ให้ ธนาคาร ฯ ซึ่ง เป็น ผู้รับโอน
อสังหาริมทรัพย์ รับ ภาระ เสีย ค่าธรรมเนียม ค่า ภาษีอากร และ ค่าใช้จ่าย อื่น ทั้งหมด ก็ตาม แต่ ภาระ
อากรแสตมป์ หรือ เสีย ภาษีเงินได้ ดังกล่าว ยังคง มี อยู่ ตาม กฎหมาย ไม่ได้ รับ ยกเว้น แต่ อย่างใด
เลขตู้: 65/32018


 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020