เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0706/พ./9370
วันที่: 22 ตุลาคม 2545
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขายน้ำมันดิบของพืช
ข้อกฎหมาย: มาตรา 81(1)(ก)
ข้อหารือ: สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ได้ตรวจปฏิบัติการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ปรากฏว่าบริษัทฯ มีเงินได้
หลักจากการส่งออกกะทิสำเร็จรูป และน้ำมันมะพร้าว (ผลพลอยได้) กระบวนการผลิตน้ำมันมะพร้าวของ
บริษัทฯ ได้จากกากมะพร้าว ผิวมะพร้าวแห้ง มะพร้าวที่เสีย นำไปเคี่ยวหรืออบให้แห้ง ก่อนนำไปหีบเป็น
น้ำมันมะพร้าวและขายไปในลักษณะแกลลอน
จึงหารือว่า
1. น้ำมันมะพร้าวถือเป็นกรดไขมันที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
2. หากน้ำมันมะพร้าวของบริษัทฯ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทฯ ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตั้งแต่เมื่อใด
แนววินิจฉัย: กรณีบริษัทฯ ประกอบกิจการผลิตและส่งออกกะทิสำเร็จรูป มีของเหลือจากการผลิตเป็นกาก
มะพร้าว ผิวมะพร้าว ผิวมะพร้าวแห้ง มะพร้าวที่เสีย ซึ่งบริษัทฯ นำไปผ่านกระบวนการผลิต
น้ำมันมะพร้าว โดยนำไปเคี่ยวหรืออบให้แห้ง แล้วจึงนำไปหีบเป็นน้ำมันมะพร้าว มีลักษณะเป็นน้ำมันดิบไม่
สามารถบริโภคได้บรรจุแกลลอนขาย
น้ำมันมะพร้าวดังกล่าว จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำพืชผลทางการเกษตรมาหีบจนได้เป็น
น้ำมันดิบ และขายไปโดยมิได้บรรจุกระป๋อง ภาชนะ หรือหีบห่อที่ผนึกในลักษณะมั่นคง เมื่อยังมิได้แปรรูป
หรือแปรสภาพเป็นอาหาร ย่อมเข้าลักษณะเป็นการขายพืชผลหรือวัตถุพลอยได้จากพืช ที่รักษาสภาพไว้เพื่อ
มิให้เสียเพื่อการขายปลีกหรือขายส่ง ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 81(1)(ก)
แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 23/2536 เรื่อง
ภาษีมูลค่าเพิ่ม การขายน้ำมันดิบของพืช ลงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2536
เลขตู้: 65/31999


 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020