เลขที่หนังสือ | : กค 0811/พ./9109 |
วันที่ | : 10 ตุลาคม 2545 |
เรื่อง | : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการออกใบกำกับภาษีสำหรับค่าผ่านทางพิเศษ |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 79, มาตรา 79(1) |
ข้อหารือ | : 1. คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ได้มีนโยบายเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา การจราจรคับคั่งในระบบทางด่วนขั้นที่ 1 ว่า เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการแก้ไขปัญหาจราจร โดยการใช้ราคาค่าผ่านทางพิเศษเป็นการดึงดูดให้ผู้เดินทางใช้ทางด่วนเส้นบางนา-รามอินทรา-พระราม 9 -อโศก-ดินแดง เพิ่มมากขึ้น เพื่อลดความหนาแน่นบนทางด่วนขั้นที่ 1 เส้นทางบางนา-ดินแดง และเป็น ไปตามนโยบายของรัฐที่จะใช้สิ่งก่อสร้างที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้น จึงกำหนดให้มีการทดลอง การใช้เส้นทาง ดังนี้ 1.1 ระหว่างวันที่ 23 กันยายน 2545-วันที่ 6 พฤศจิกายน 2545 ทดลองเรียกเก็บ ค่าผ่านทางเฉลี่ย 60 บาท โดยคำนวณว่ากรณีขาออกนอกเมืองจากดินแดงไปบางนาลดจาก 135 บาท เหลือ 55 บาท และขาเข้าเมืองจากบางนาไปลงดินแดงเหลือ 55 บาท 1.2 ระหว่างวันที่ 7 พฤศจิกายน 2545 - วันที่ 21 ธันวาคม 2545 ทดลองเรียกเก็บ ค่าผ่านทางเฉลี่ย 40 บาท ซึ่งไม่รวมค่าผ่านทางของทางพิเศษเฉลิมมหานครตามสภาพเดิมที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้รับในอัตรา 20 บาท ต่อคัน 2. ในการดำเนินการตามมติ คจร. นั้น กทพ. จะให้ผู้ใช้บริการทางด่วนเสียค่าผ่านทางของ ทางพิเศษเฉลิมมหานครตามปกติ และรับใบรับค่าผ่านทางพิเศษสีเหลือง และจะต้องส่งใบรับดังกล่าวให้ แก่พนักงานเก็บค่าผ่านทางในตู้เก็บค่าผ่านทางเพื่อพิมพ์วัน เวลา และชื่อด่านในทุกด่านที่ผ่าน พร้อมทั้ง จ่ายค่าผ่านทางในอัตราที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และเมื่อถึงด่านอาจณรงค์ 1 หรือด่านอโศก 4 ก็จะได้รับ ค่าผ่านทางคืนเป็นเงินสด กล่าวคือ 2.1 ระหว่างวันที่ 23 กันยายน 2545-วันที่ 6 พฤศจิกายน 2545 รถที่เดินทางจาก ดินแดง-บางนา จะเสียค่าผ่านทางที่ด่านดินแดงจำนวน 40 บาท ด่านอโศก 3 จำนวน 25 บาท ด่าน พระราม 9-1 (ฉลองรัช) จำนวน 20 บาท รวมเป็นเงิน 85 บาท และเมื่อผ่านด่านอาจณรงค์ 1 จะ ได้รับค่าผ่านทางคืนเป็นเงินสดจำนวน 20 บาท ดังนั้น ผู้ใช้บริการทางด่วนจะเสียค่าผ่านทางรวมทั้งสิ้น 65 บาท สำหรับรถที่เดินทางจากบางนา-ดินแดง จะเสียค่าผ่านทางที่ด่านบางนาหรือด่านสุขุมวิท 62 จำนวน 40 บาท ด่านอาจณรงค์ 2 จำนวน 30 บาท ด่านพระราม 9-1 (ศรีรัช) จำนวน 15 บาท รวม 85 บาท และเมื่อผ่านด่านอโศก 4 จะได้รับค่าผ่านทางคืนเป็นเงินสด 30 บาท ดังนั้น ผู้ใช้บริการ ทางด่วนจะเสียค่าผ่านทางรวมทั้งสิ้น 55 บาท 2.2 ระหว่างวันที่ 7 พฤศจิกายน 2545-วันที่ 21 ธันวาคม 2545 รถที่เดินทางจาก ดินแดง-บางนา และบางนา-ดินแดง ผู้ใช้บริการทางด่วนจะเสียค่าผ่านทางเช่นเดียวกับช่วงเวลาตาม 2.1 แต่จะได้รับค่าผ่านทางคืนเป็นเงินสดจำนวน 45 บาท ดังนั้น ผู้ใช้บริการทางด่วนจะเสียค่าผ่านทาง รวมทั้งสิ้น 40 บาท 3. กทพ. หารือว่า กรณีตาม 2.1 และ 2.2 กทพ. จะต้องออกใบกำกับภาษี อย่างไร |
แนววินิจฉัย | : 1. กรณี กทพ. เรียกเก็บค่าผ่านทางจากผู้ใช้บริการทางด่วนที่ตู้เก็บเงินแต่ละด่านเป็นเงินสด เช่น ในช่วงระหว่างวันที่ 23 กันยายน 2545 - วันที่ 6 พฤศจิกายน 2545 รถที่เดินทางจากดินแดง- บางนา จะเสียค่าผ่านทางที่ด่านดินแดงจำนวน 40 บาท ด่านอโศก 3 จำนวน 25 บาท ด่านพระราม 9-1 (ฉลองรัช) จำนวน 20 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 85 บาท และเมื่อผ่านด่านอาจณรงค์ 1 จะได้รับ ค่าผ่านทางคืนเป็นเงินสดจำนวน 20 บาท กรณีดังกล่าว กทพ. ไม่จำเป็นต้องออกใบกำกับภาษีให้แก่ ผู้ใช้บริการในละด่านที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 500 บาท เว้นแต่ผู้รับบริการจะเรียกร้องใบกำกับภาษี ทั้งนี้ ตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 7) เรื่อง กำหนดลักษณะและเงื่อนไขของการประกอบกิจการ ขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย และการออกใบกำกับภาษีของผู้ประกอบการจดทะเบียนตามมาตรา 86/8 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2534 อย่างไรก็ดี กทพ.ต้องจัดทำใบกำกับภาษี อย่างย่อรวบรวมการให้บริการที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 500 บาท ในหนึ่งวันทำการ เพื่อเป็นเอกสาร ประกอบการลงรายการในรายงานภาษีขาย ตามมาตรา 87(1) แห่งประมวลรัษฎากร 2. กรณี กทพ. เรียกเก็บค่าผ่านทางจากผู้ใช้บริการทางด่วนเส้นทางดินแดง-บางนา จำนวน ทั้งสิ้น 85 บาท แต่จะคืนให้แก่ผู้ใช้บริการทางด่วนเมื่อผ่านด่านอาจณรงค์ 1 จำนวน 20 บาท เข้า ลักษณะเป็นการให้ส่วนลดหรือค่าลดหย่อนแก่ผู้ใช้บริการทางด่วนในขณะให้บริการ ตามมาตรา 79(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่ง กทพ. จะไม่แสดงส่วนลดหรือค่าลดหย่อนดังกล่าวให้เห็นชัดแจ้งไว้ใน ใบกำกับภาษีอย่างย่อก็ได้ ดังนั้น กทพ. จึงไม่ต้องนำมูลค่าของส่วนลดหรือค่าลดหย่อนจำนวน 20 บาท ไปรวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี ตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร |
เลขตู้ | : 65/31974 |