เลขที่หนังสือ | : กค 0706/9372 |
วันที่ | : 22 ตุลาคม 2545 |
เรื่อง | : ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการจ่ายเงินได้พึงประเมินไปต่างประเทศ |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 69 ทวิ, มาตรา 85/3, มาตรา 83/6(1) |
ข้อหารือ | : สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2539 ซึ่งสถาบันฯ ได้รับการสนับสนุน ผู้เชี่ยวชาญในกลุ่ม Plant Engineering and Environmental Technology มาประจำที่สถาบันฯ เป็นครั้งคราวตลอดมาอย่างต่อเนื่อง สถาบันฯ ได้ขยายความร่วมมือทางวิชาการมาสู่สาขาการตรวจ ประเมินรับรองระบบคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ทางเทคนิคใน การตรวจประเมินกับ TU ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของฮ่องกงและเกี่ยวข้องกับ สถาบัน T และการขยายความร่วมมือดังกล่าว ส่วนหนึ่งเป็นการร่วมงานตรวจประเมินระบบคุณภาพแก่ องค์กรในประเทศไทยที่ขอการรับรอง กิจกรรมนี้ก่อให้เกิดรายได้และสถาบันฯ ต้องแบ่งรายได้ส่วนหนึ่ง ให้ผู้เชี่ยวชาญของ TU ที่มาร่วมตรวจประเมินและ TU ในฮ่องกงต้องนำส่งรายได้บางส่วนแก่สถาบัน T ที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ซึ่งมีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทย สถาบันฯ หารือว่า ต้องหักภาษีในอัตราใดจากรายได้ก่อนนำเงินส่ง TU รวมทั้งต้องขอ หลักฐานจาก TU เรื่องใดบ้าง เพื่อประกอบการพิจารณาและยืนยันเรื่องอัตราภาษีให้ชัดเจน |
แนววินิจฉัย | : 1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัท T ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายฮ่องกง ส่งพนักงานเข้ามาทำงาน ในประเทศไทย บริษัทฯ จึงมีหน้าที่ต้องนำค่าจ้างที่ได้รับมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทยตามมาตรา 76 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร และเมื่อสถาบันฯ จ่าย ค่าจ้างสำหรับการตรวจสอบและรับรองผลประเมินระบบคุณภาพ ซึ่งเข้าลักษณะเป็นค่าจ้างทำของให้บริษัท ฯ จึงมีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้นิติบุคคล ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 1 ของเงินได้ที่จ่ายตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร เนื่องจากบริษัทฯ จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของฮ่องกง จึงไม่อยู่ในบังคับของ ความตกลงระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน ในส่วน ที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้และทุน นอกจากนั้นความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับ รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรใน ส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ดังกล่าวก็ไม่ครอบคลุมไปถึงฮ่องกง จึงไม่มีประเด็นวินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิ ประโยชน์ตามความตกลง 2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากบริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักร ซึ่งได้เข้ามาประกอบกิจการ ให้บริการในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นการชั่วคราวตาม มาตรา 85/3 แห่งประมวลรัษฎากร สถาบันฯ ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินค่าบริการมีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มที่ ผู้ประกอบการมีหน้าที่เสียตามมาตรา 83/6(1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยใช้แบบแสดงรายการ ภ.พ.36 นำส่งกรมสรรพากรภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินให้ผู้ประกอบการ |
เลขตู้ | : 65/32001 |