เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0811/ก.792
วันที่: 18 กรกฎาคม 2545
เรื่อง: เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนกิจการลูกเสือ
ข้อกฎหมาย: มาตรา 47(7)(ข), มาตรา 65 ตรี (3)
ข้อหารือ: คณะผู้แทนลูกเสือไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดงานชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 20 พ.ศ. 2546 ในวันที่
28 ธันวาคม 2545 ถึงวันที่ 7 มกราคม 2546 รวมเวลา 11 วัน โดยมีการจัดกิจกรรมต่าง ๆ หลาย
ประเภท แต่กองอำนวยการงานชุมนุมลูกเสือโลกไม่มีงบประมาณสนับสนุนการจัดกิจกรรมดังกล่าว
คณะกรรมการลูกเสือไทยจึงต้องจัดหางบประมาณการขอรับบริจาคจากบุคคลภายนอก คณะผู้แทนลูกเสือ
ไทยหารือว่า กรณีขอรับบริจาคเงินดังกล่าวคณะผู้แทนลูกเสือไทยจะสามารถกำหนดใบเสร็จรับเงินขึ้นเอง
เพื่อใช้สำหรับออกให้กับผู้บริจาคเป็นการเฉพาะกิจได้หรือไม่ และผู้บริจาคสามารถนำไปหักเป็นค่าใช้จ่าย
ได้หรือไม่
แนววินิจฉัย: คณะลูกเสือแห่งชาติได้รับการประกาศกำหนดเป็นองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล
และสถานศึกษา ในลำดับที่ 115 ตามประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ฉบับที่ 2) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาล และสถานศึกษา ตามมาตรา
47(7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3(4)(ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความใน
ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย
พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254)
พ.ศ. 2535 ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2535 ดังนั้น หากคณะลูกเสือแห่งชาติเป็นผู้รับบริจาคเงินเพื่อ
เป็นงบประมาณในการจัดกิจกรรมของคณะผู้แทนลูกเสือไทยในการจัดงานชุมนุมลูกเสือโลกครั้งที่ 20
พ.ศ. 2546 ผู้บริจาคซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถหักลดหย่อนสำหรับเงินบริจาค
ดังกล่าวได้ตามอัตราและเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดตามมาตรา 47(7)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และ
กรณีผู้บริจาคเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลก็สามารถนำเงินบริจาคดังกล่าวไปหักเป็นรายจ่ายใน
การคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามอัตราและเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดตามมาตรา 65
ตรี (3) แห่งประมวลรัษฎากร แต่ทั้งนี้คณะลูกเสือแห่งชาติต้องออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ผู้บริจาคในนาม
ของคณะลูกเสือแห่งชาติเอง
เลขตู้: 65/31800


 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020