เลขที่หนังสือ | : กค 0811/พ./5176 |
วันที่ | : 11 มิถุนายน 2545 |
เรื่อง | : ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีภาระภาษีของโครงการเงินกู้ Mixed Credit |
ข้อกฎหมาย | : มาตรา 83/6(1), มาตรา 3 อัฏฐ วรรคหนึ่ง |
ข้อหารือ | : หน่วยงานราชการหารือกรณีภาระภาษีของโครงการเงินกู้ Mixed Credit สรุปได้ดังนี้ 1. หน่วยงานราชการได้ทำการตรวจสอบโครงการเงินกู้ที่หน่วยงานราชการมีอยู่ขณะนี้ พบว่า มีโครงการหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษและเงื่อนไขในสัญญาแตกต่างจากโครงการเงินกู้อื่น ๆ โดยเฉพาะในส่วน ของภาษี นั่นคือโครงการศึกษาวิจัย เพื่อการพัฒนาและนำเอาวิธีการออกแบบวิเคราะห์ โดยยึดพฤติกรรม ของถนนและค่าโมดูลัสหยุ่นตัวเป็นหลักมาใช้งานของหน่วยงานราชการ ซึ่งมีรายละเอียดต่าง ๆ พอสรุป ได้ดังนี้ 1.1 โครงการนี้เป็นโครงการเงินกู้ที่ได้รับการช่วยเหลือในลักษณะ Mi xed Credit จากรัฐบาลเดนมาร์ก ผ่านกระทรวงต่างประเทศของเดนมาร์ก โดยในการช่วยเหลือดังกล่าวมี ข้อกำหนดพิเศษที่ระบุว่าเงินกู้ที่ได้รับความช่วยเหลือในลักษณะ Mixed Credit นี้ไม่สามารถนำมาชำระ ภาษีใด ๆ ได้ 1.2 ในสัญญากู้เงินที่กระทรวงการคลังลงนามไว้กับแหล่งเงินกู้จากประเทศ เดนมาร์กโดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี นั้น ได้ระบุไว้ในข้อที่ 11.1 เกี่ยวกับภาษีว่าเป็น ความรับผิดชอบของผู้กู้ ซึ่งผู้กู้ในสัญญา หมายถึง กระทรวงการคลัง 1.3 โครงการนี้หน่วยงานราชการได้ว่าจ้างหน่วยงานราชการของเดนมาร์กเป็น ที่ปรึกษาของโครงการมีหน้าที่ให้คำปรึกษาในการทำงานวิจัยร่วมกัน และรวมถึงมีหน้าที่จัดซื้อเครื่องมือ วิจัยที่ใช้ในโครงการตามสัญญา 2. ลักษณะของโครงการโดยละเอียดเป็นดังนี้ 2.1 โครงการศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนาและนำเอาวิธีการออกแบบวิเคราะห์ โครงสร้างของถนน โดยยึดพฤติกรรมของถนนและค่าโมดูลัสหยุ่นตัวเป็นหลักมาใช้ในงานของหน่วยงาน ราชการนี้เป็นโครงการศึกษาวิจัยพัฒนาและฝึกอบรมที่ได้รับเงินกู้ลักษณะช่วยเหลือแบบ Mixed Credit จากประเทศเดนมาร์ก 2.2 โครงการดังกล่าวหน่วยงานราชการได้ว่าจ้างหน่วยงานราชการของประเทศ เดนมาร์ก ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการของรัฐบาลประเทศเดนมาร์กทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของโครงการฯ มี หน้าที่ดำเนินการจัดซื้อเครื่องมือ (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือที่จัดซื้อจากประเทศเดนมาร์ก)ให้ การฝึกอบรมและให้คำปรึกษาทำงานวิจัยร่วมกับวิศวกรของหน่วยงานราชการ 2.3 การใช้เงินในโครงการฯ ดังกล่าวมีรายละเอียดตามที่ระบุในสัญญาว่าจ้างที่ ได้แนบมาด้วยนี้ โดยได้แบ่งการใช้เงินเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่จัดซื้อเครื่องมือ ซึ่งมีลักษณะเป็นการ เบิกจ่ายตามจริง และส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายในการทำงานวิจัยและฝึกอบรม ซึ่งมีลักษณะแบบเหมาจ่าย 2.4 ลักษณะการทำงานของโครงการมีระยะเวลา 3 ปี โดยมี 3 กิจกรรมหลัก คือ การจัดซื้อเครื่องมือจากประเทศเดนมาร์ก การฝึกอบรม และการดำเนินการศึกษาวิจัย ซึ่ง DRD ได้ ส่งผู้เชี่ยวชาญหมุนเวียนกันมาทำงานในประเทศไทยร่วมกับวิศวกรของหน่วยงานราชการเป็นระยะตาม แผนงานที่ระบุในสัญญา หน่วยงานราชการจึงหารือว่า การจ่ายเงินค่าที่ปรึกษาไปต่างประเทศตามโครงการนี้อยู่ใน บังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ |
แนววินิจฉัย | : กรณีหน่วยงานราชการได้ชำระค่าบริการให้กับผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชอาณาจักรซึ่งได้เข้า มาประกอบกิจการให้บริการในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น การชั่วคราว หน่วยงานราชการจึงมีหน้าที่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการมีหน้าที่เสียภาษีตามมาตรา 83/6(1) แห่งประมวลรัษฎากร ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่าย เงินให้ผู้ประกอบการ อนึ่ง ในกรณีที่หน่วยงานราชการมิได้นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จึงอนุมัติ ให้ขยายเวลายื่นแบบแสดงรายการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36) ให้กับหน่วยงานราชการ สำหรับการ จ่ายเงินตามโครงการเงินกู้จากต่างประเทศดังกล่าวตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคหนึ่ง แห่ง ประมวลรัษฎากร จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2545 |
เลขตู้ | : 65/31515 |