เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/4077
วันที่: 17 พฤษภาคม 2545
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเงินค่าชดเชยการสูญเสียพลังงานไฟฟ้า
ข้อกฎหมาย: มาตรา 39, มาตรา 40(87), มาตรา 77/1(8)(10)
ข้อหารือ: บริษัท B เป็นบริษัทจดทะเบียนตามกฎหมายไทย ทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าตามระเบียบการรับซื้อ
ไฟฟ้าจากผู้ผลิตรายเล็กกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (C) การจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ C ดังกล่าว
B จะต้องจ่ายไฟฟ้าผ่านเข้าไปในระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (A) ซึ่งในการจ่ายไฟฟ้าให้แก่
C ผ่านระบบจำหน่ายของ A นั้น ในบางครั้ง A อาจได้รับผลกระทบจากการสูญเสียพลังงานไฟฟ้า
(Energy loss) เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม B จึงได้เข้าทำสัญญาเชื่อมโยงระบบกับ A เพื่อกำหนดเงื่อนไข
และวิธีปฏิบัติตลอดจนการคำนวณค่าชดเชยพลังงานไฟฟ้าที่สูญเสียเพิ่มขึ้นจากเดิมให้แก่ A ทั้งนี้ B เป็น
ผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายสำหรับอุปกรณ์และการติดตั้งอุปกรณ์ทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมระบบดังกล่าว B
จึงหารือดังนี้
1. เงินค่าชดเชยพลังงานไฟฟ้าที่สูญเสียดังกล่าวถือเป็นเงินได้ประเภทใด
2. A และ B มีหน้าที่ประการใดเกี่ยวกับการชำระเงินค่าชดเชยนั้น เช่น การหักภาษีเงินได้
ณ ที่จ่าย การออกใบกำกับภาษี เป็นต้น
แนววินิจฉัย: 1. เงินค่าชดเชยการสูญเสียพลังงานไฟฟ้า ซึ่ง A ได้รับเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) แห่ง
ประมวลรัษฎากร แต่เนื่องจาก A เป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคล แต่มิใช่
"บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล" ซึ่งมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่ง
ประมวลรัษฎากร เมื่อ B จ่ายเงินได้ดังกล่าวให้แก่ A จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่
อย่างใด
2. เงินค่าชดเชยดังกล่าว ซึ่ง A ได้รับไม่เข้าลักษณะเป็นการขายหรือการให้บริการตาม
มาตรา 77/1(8)(10) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
เลขตู้: 65/31429

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020