เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0811/4697
วันที่: 30 พฤษภาคม 2545
เรื่อง: ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินประกันการเช่าอาคาร
ข้อกฎหมาย: มาตรา 40(5)
ข้อหารือ: สำนักงานสรรพากรภาคหารือปัญหาภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินประกันการเช่าอาคาร
ราย นาย ม. สรุปข้อเท็จจริงได้ดังนี้
นาย ม. ได้ให้บริษัท A. เช่าอาคารระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2542 ถึง 31 ธันวาคม
2543 ตามหนังสือสัญญาเช่า และได้รับหนังสือทักท้วงจากสำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ เรื่อง การนำ
เงินประกันการเช่ารวมเป็นส่วนหนึ่งของรายได้จากการเช่า ซึ่งจะต้องนำมาคำนวณภาษีด้วย
นาย ม. เห็นว่า เงินประกันนี้มิได้เป็นส่วนหนึ่งของรายได้ เนื่องจากเงินประกันจำนวน
ดังกล่าวนี้จะหักไว้เป็นค่าซ่อมแซมส่วนของอาคารที่ชำรุดเมื่อผู้เช่าก่อความเสียหายหรือเป็นค่าชดเชยค่า
สาธารณูปโภคที่ผู้เช่าค้างชำระและถ้าไม่เกิดความเสียหายใด ๆ เงินจำนวนดังกล่าวก็จะคืนแก่ผู้เช่า
ทั้งหมดเมื่อสิ้นสุดสัญญา
กรณีที่เรียกเก็บเงินประกันการเช่าสูงกว่า 6 เท่าของค่าเช่านั้น นาย ม. ได้ชี้แจงเหตุผล
ดังนี้
1. ผู้ให้เช่าเป็นบุคคลธรรมดา มิได้เป็นนิติบุคคล มิได้ทำธุรกิจค้าขายใด ๆ และมิได้ใช้เป็น
เงินทุนหมุนเวียนแต่ประการใด และวงเงินดังกล่าวน้อยมากและระยะเวลาก็สั้นเช่นกัน
2. เนื่องจากธุรกิจอินเตอร์เนทที่ให้บริการชาวต่างชาติมีการแข่งขันกันอย่างมากจากผู้
ให้บริการ 2-3 ราย มาเป็น 20 กว่าราย ทำให้ค่าบริการลดลงจาก 3.50 บาท/นาที เหลือเพียง
0.50 บาท/นาที อีกทั้งยังต้องลงทุนในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูง ทำให้ผู้ให้เช่าไม่สามารถเรียก
ค่าเช่าที่สูงได้โดยเฉพาะในปีแรก ๆ ของการเช่า
แนววินิจฉัย: เงินประกันการเช่าที่นาย ม. เรียกเก็บดังกล่าว ถือเป็นเงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินตาม
มาตรา 40(5)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร นาย ม. ต้องนำมารวมคำนวณเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษี
เลขตู้: 65/31468


 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020