เมนูปิด

 

เลขที่หนังสือ: กค 0811/3094
วันที่: 18 เมษายน 2545
เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีขออนุมัติจดแจ้งการประกอบกิจการขายทองรูปพรรณ ภ.พ.01.4 ย้อนหลัง
ข้อกฎหมาย: มาตรา 105, ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 117)ฯ
ข้อหารือ: สำนักงานสรรพากรภาคได้ส่งเรื่องขออนุมัติจดแจ้งการประกอบกิจการขายทองรูปพรรณ ภ.พ.
01.4 ย้อนหลังให้กรมสรรพากรพิจารณา กรณีผู้ประกอบการขายทองรูปพรรณได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากผล
ต่างระหว่างราคาทองรูปพรรณที่ขายรวมค่ากำเหน็จและราคารับซื้อคืนทองรูปพรรณที่สมาคมค้าทองคำ
ประกาศ ณ วันที่ขายทองรูปพรรณ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2543 โดยมิได้ยื่นแบบแจ้งการ
ประกอบกิจการขายทองรูปพรรณ (ภ.พ.01.4)
แนววินิจฉัย: 1. กรณีดังกล่าวเป็นกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ประกอบกิจการขายทองรูปพรรณได้เสีย
ภาษีมูลค่าเพิ่มจากผลต่างระหว่างราคาขายซึ่งรวมค่ากำเหน็จและราคารับซื้อคืนที่สมาคมค้าทองคำ
ประกาศ ณ วันที่ขายทองรูปพรรณตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2543 เป็นต้นไป ซึ่งผู้ประกอบการ
จดทะเบียนต้องยื่นแบบแจ้งการประกอบกิจการขายทองรูปพรรณ (ภ.พ.01.4) ต่อกรมสรรพากรและใช้
เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบรับตามมาตรา 105 แห่งประมวลรัษฎากร โดยต้องดำเนินการให้
แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ทั้งนี้ ตามข้อ 2 (14)ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40) เรื่อง กำหนดลักษณะ และเงื่อนไขค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวม
คำนวณมูลค่าของฐานภาษีตามมาตรา 79(4) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535
ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 106)ฯ ลงวันที่ 3
สิงหาคม พ.ศ. 2543 ประกอบกับข้อ 1 ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.
2543 ดังนั้น กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนทั้งสองรายมิได้ยื่นแบบ ภ.พ.01.4 ต่อกรมสรรพากรจึงไม่ได้
รับสิทธิเสียภาษี มูลค่าเพิ่มจากผลต่างระหว่างราคาขายซึ่งรวมค่ากำเหน็จและราคารับซื้อคืนที่สมาคมค้า
ทองคำประกาศ ณ วันที่ขายทองรูปพรรณ
2. อย่างไรก็ดี ปัจจุบันกรมสรรพากรได้มีการแก้ไขประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40)ฯ ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 106)ฯ ลงวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2543
โดยออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 117)ฯ ลงวันที่ 17 สิงหาคม
พ.ศ. 2544 มีสาระสำคัญ คือ ยกเลิกหลักเกณฑ์การใช้เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบรับและ
กำหนดให้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มิได้ดำเนินการให้มีเครื่องบันทึกการเก็บเงินภายในวันที่ 30
มิถุนายน พ.ศ. 2544 ยังคงได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากผลต่างระหว่างราคาขายซึ่งรวมค่ากำเหน็จ
และราคารับซื้อคืนที่สมาคมค้าทองคำประกาศ ณ วันที่ขายทองรูปพรรณ โดยให้ได้รับสิทธิดังกล่าวตั้งแต่
วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป กรณีดังกล่าวเป็นผลทำให้มีการยกเลิก
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ด้วย ดังนั้น ผู้ประกอบการจดทะเบียน
ทั้งสองรายจึงได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากผลต่างระหว่างราคาขายซึ่งรวมค่ากำเหน็จและราคารับซื้อ
คืนที่สมาคมค้าทองคำประกาศ ณ วันที่ขายทองรูปพรรณ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2543 เป็นต้นไป
เลขตู้: 65/31376


 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020