เมนูปิด

เลขที่หนังสือ: กค 0811/3490
วันที่: 30 เมษายน 2545
เรื่อง: ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีเงินมัดจำ
ข้อกฎหมาย: มาตรา 65, คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.1/2528ฯ
ข้อหารือ: บริษัทฯ ได้เรียกเก็บเงินมัดจำจากลูกค้าที่ซื้อสินค้าส่วนหนึ่ง และบริษัทฯ ได้ขายสินค้าให้ลูกค้า
ในปีถัดไป บริษัทฯ จะต้องนำเงินมัดจำดังกล่าวเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสีย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลในปีที่เรียกเก็บตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.73/2541 เรื่อง การเสีย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการเรียกเก็บเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจำหรือ
เงินจอง ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2541 ใช่หรือไม่
ตัวอย่าง ในปี 2543 บริษัทฯ เรียกเก็บเงินมัดจำ 30% จากลูกค้ายอดสั่งซื้อสินค้า 1 ล้าน
บาท ในทางบัญชี บัญชีเงินมัดจำเป็นบัญชีในงบดุล มิใช่งบกำไรขาดทุน บริษัทฯ บันทึกบัญชีรับเงินมัดจำ
1. บริษัทฯ ต้องนำเงินมัดจำ 300,000 บาท เป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี
2543 ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.73/2541 ฯ ใช่หรือไม่ 2. บริษัทฯ ต้องนำยอดขายเป็นรายได้
เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี 2544 ใช่หรือไม่
แนววินิจฉัย: บริษัทฯ จะต้องรับรู้รายได้จากการขายสินค้าโดยใช้เกณฑ์สิทธิ ตามมาตรา 65 แห่ง
ประมวลรัษฎากร ประกอบกับคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป.1/2528 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิใน
การคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2528
กล่าวคือ วันรับรู้รายได้จากการขายสินค้าเกิดขึ้นเมื่อบริษัทฯ ได้โอนความเสี่ยงและผลตอบแทน ที่เป็น
สาระสำคัญของความเป็นเจ้าของสินค้านั้นให้แก่ผู้ซื้อ คือ เมื่อบริษัทฯ ได้ส่งมอบสินค้าในปี 2544 ดังนั้น
จึงต้องนำยอดสั่งซื้อจำนวน 1,000,000 บาท มาคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2544
เลขตู้: 65/31396

 

 

ปรับปรุงล่าสุด: 22-05-2020